คลังเก็บป้ายกำกับ: ระบบ cloud

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing

ในช่วงโควิด-19 หรือ ยุคที่เกิด ‘New Normal’ แบบนี้ หลายๆ องค์กรก็ต้องมีการหาSolutionการทำงานที่คล่องตัว สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และการควบคุมการทำงานที่ง่ายดาย 

‘Cloud Computing’ กลายเป็นคำตอบของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการทำงานแบบเดิมๆ และปรับให้การทำงานคล่องตัว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีทรัพยากรด้าน IT ที่ยืดหยุ่น 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ ‘Cloud Computing’ ก็คือคอมพิวเตอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจว่า เซิร์ฟเวอร์จะตั้งอยู่ที่ไหน เพราะ สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะที่ดีของ ‘Cloud Computing’ ก็คือ 

– สามารถควบคุมต้นทุนได้ (Manage Your Finance) 

– สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา และหลากหลายอุปกรณ์ (Go Mobile) 

– มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ควบคุมข้อมูลต่างๆ (Store It Up) 

– คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไร้ข้อจำกัด รวมถึงยังเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น (Share Information — Collaboration) 

– ระบบการทำงาน Information System ที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นภาระกับผู้ดูแลระบบ (Alleviate Complicated of Information System) 

ใครหลายๆ คน อาจจะรู้จัก ‘Cloud Computing’ กันมาบ้างแล้ว แต่ความหมายของมันกับสิ่งที่มันสามารถทำได้ ก็อาจเป็นคำถามในใจของใครหลายๆ คน โดย ‘Cloud Computing’ เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น 

  1. Disaster Recovery-as-a-Service 

สิ่งแรกที่ Cloud Computing สามารถใช้ประโยชน์กับองค์กรได้ คือ การใช้งาน Cloud เป็น Workload ในการเก็บ Backup ข้อมูลทั้งหมด เมื่อระบบเกิดปัญหาขัดข้อง หรือ เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถคาดคิดได้ อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำ DR-site แบบ On-premise จะมีการลงทุน H/W, และ S/W ไว้ที่ site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน ซึ่งมีความซับซ้อนในการสร้างระบบ DR-Site แบบ On-premise อย่างมาก 

Cloud Services จึงเป็นการทำ DR-site สำรองระบบการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่Application ข้อมูล และการทำงานไปที่ Site สำรอง โดยในปัจจุบัน cloud server thai ก็มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และความรวดเร็ว ทำให้ Cloud Computing สามารถเก็บรักษา Backup ข้อมูลทั้งหมดได้ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่น้อยว่าการลงทุน DR-Site แบบ On-premise อีกด้วย 

  1. Infrastructure-as-a-Service 

ต่อมาประโยชน์ของ Cloud Computing เป็นการใช้งาน Workload ที่มีการใช้งานทรัพยากรขั้นสูง คือ Cloud Services สามารถที่จะรองรับการสร้าง instance cloud หรือ ทรัพยากร Compute, Network, Storage ที่ระบบComputerต้องการได้ โดย Cloud จะช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ เช่น SLA, ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบการดูแลไฟฟ้าและควบคุมอากาศ เป็นต้น 

นอกจาก Cloud Computing จะสามารถรองรับทรัพยากรที่องค์กรต้องการใช้งานได้ ยังมีฟีเจอร์และแอปพลิเคชันรองรับกับการใช้งาน เช่น VPC network ในการป้องกันเครือข่ายของระบบ, Image sharing ฟีเจอร์ลัดช่วยในการควบคุมทรัพยากร Cloud เป็นต้น รวมถึงแอปพลิเคชัน Laravel, Docker, Joomla, Mongodb, Magento, My SQL, LEMP เป็นต้น 

  1. Development and Test Environment 

สำหรับ Cloud Services มีฟีเจอร์ที่พร้อมกับการทดสอบและพัฒนาสภาพแวดล้อมของ Application ในองค์กร รวมถึง Workload ในการทำงานแบบอัตโนมัติก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย งานวิจัยล่าสุดจาก Voke พบว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ของระบบ IT ในองค์กรมีผลอย่างมากต่อการพัฒนา Application โดยข้อจำกัดของระบบ On-Premise มีผลต่อความล่าช้าและการหยุดชะงักในการพัฒนาถึง 44% และมีผลต่อการทดสอบถึง 68% 

การสร้าง Environment ของระบบ IT บน Cloud Computing ที่มีความยืดหยุ่นและมีทรัพยากรที่เพรียบพร้อมมากกว่าจึงเป็นคำตอบในการพัฒนา Application ที่รวดเร็ว ลดความซับซ้อนขั้นตอนการเตรียมการได้ดีกว่านั่นเอง 

  1. Big Data Analytics 

Cloud Services สามารถช่วยบริษัทในการประมวลผลและวิเคราะห์ Big Data ได้รวดเร็วขึ้น โดยการนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการปรับปรุงธุรกิจได้ โดยทรัพยากรพื้นฐานที่มีอยู่บน Cloud มากมาย เช่น instance cloud, Image sharing รวมไปถึงระบบความปลอดภัยอย่าง VPC network ก็ช่วยให้การสร้าง Big Data มีความคล่องตัวขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่าย

  1. Application Development 

นักพัฒนา Application จะรู้ดีสำหรับการออกแบบ Application บนสภาพแวดล้อมที่ต้องการ ซึ่ง Cloud Services มีความยืนหยุ่นในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Public Cloud หรือ Private Cloud ก็สามารถตอบโจทย์การออกแบบ การจัดการข้อมูล เครือข่ายของ Applacation หรือกระทั่งระบบความปลอดภัยต่างๆ Cloud Computing ก็สามารถสร้างการทำงานที่ตอบโจทย์การพัฒนา Application ได้ เช่น cognitive service, AI, backup/recovery, ChatBot เป็นต้น 

 

เปลี่ยนมาใช้ Cloud ไทย กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้! 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

LINE : @NipaCloud 

Website: https://www.nipa.cloud/ 

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/ 

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud 

Email: sales@nipa.cloud 

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

data science

Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server

Data Science กับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าบน Cloud Server

data science

‘Data Science’ หรือ ‘วิทยาศาสตร์ข้อมูล’ เป็นวิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากทั้ง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ที่มีอยู่ภายในฐานข้อมูลขององค์กร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติ ไปจนถึงกระบวนการ Machine Learning บน Cloud Server ซึ่งในองค์กรส่วนใหญ่แล้ว ‘Data Scientist’ หรือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ นั้น ทำงานเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้ พร้อมๆ กับลดต้นทุน เพิ่มความไหลลื่นทางธุรกิจ และช่วยเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของลูกค้าผ่านการทำงานบน Cloud Server นั่นเอง

Data Scientist ทำงานอย่างไร?

หลายๆ องค์กรที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ‘Big Data’ แน่นอนว่าต้องมีคนที่เข้ามาดูแลนั่นคือ ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ หรือ ‘Data Scientist’ ซึ่งต้องทำหน้าที่ควบคู่กับการทำงานของอีก 2 ฝ่าย คือ ‘Data Analyst’ และ ‘Data engineers’ โดยทั้ง 3 ฝ่ายมีหน้าที่ในการจัดการข้อมูล ดังนี้

– Data Scientist คือ ออกแบบโมเดลจากข้อมูล เพื่อหาช่องทางใหม่ๆ ให้องค์กร

– Data Analyst คือ วิเคราะห์และออกแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาส่งต่างๆ ในองค์กร

– Data Engineers คือ ออกแบบช่องทางของข้อมูล วิธีการจัดเก็บ และการใช้งาน

Data Scientist vs. Data Analyst

ทั้งสองหน้าที่จะทำหน้าที่ใกล้ชิดกัน โดยที่นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) จะอยู่ใต้วิทยาศาสตร์ข้อมูลอีกทีหนึ่ง และทั้งสองต้องเข้าใจตรงกันว่าข้อมูลขององค์กรนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ก็จะดึงผลลัพธ์จากนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) มาเพื่อทำการแก้ปัญหาอีกต่อหนึ่งนั่นเอง

Data Science vs. Big Data

ทั้งวิทยาศาตร์ข้อมูล (Data Science) และ Big Data ล้วนเป็นของคู่กัน แต่วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) นั้นใช้เพื่อดึงมูลค่าจากข้อมูลทุกๆ ขนาด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง หรือกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่ง Big Data นั้น มีประโยชน์แก่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในหลายเรื่องมากๆ เพราะว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรวมพารามิเตอร์เข้ารูปแบบที่กำหนดไว้ได้มากเท่านั้น

Data Scientist teams

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นงานที่ต้องการทีมที่มีความเรียบร้อย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ถือเป็นแกนหลักของทีมวิทยาศาตร์ข้อมูล ที่จะทำให้เดินหน้าจากข้อมูลไปยังการวิเคราะห์ และจากนั้นก็ทำการเปลี่ยนข้อมูลที่วิเคราะห์ ไปยังส่วนการผลิตที่เพิ่มมูลค่า ซึ่งต้องอาศัยสกิลและบทบาทหนักมาก  ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ควรจะเข้ามาช่วยตรวจสอบข้อมูล ก่อนที่จะทำการนำเสนอให้กับทีม และพยายามรักษารูปแบบข้อมูลไว้ให้เหมือนเดิม ส่วนนักวิศวกรรมข้อมูล (Data engineer) เป็นหน่วยงานที่จำเป็นต่อการสร้างท่อลำเลียงข้อมูล เพื่อทำการตกแต่งเซ็ตข้อมูล ให้สามารถใช้กับส่วนอื่นๆ ของบริษัทได้

องค์ประกอบในการทำ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

  1. Data Processing & cleaning
    ขั้นตอนการจัดแบ่งและจัดเตรียมข้อมูลโดยรวม ด้วยการจัดการกับชนิดของชุดข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน และนำไปสู่การวิเคราะห์หรือการสร้างแบบจำลองในที่สุด
  2. Analysis & Modelling
    การวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ในแง่ของสถิติและคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างและใช้โมเดล Machine Learning เชิงวิเคราะห์หรือทำนายที่แตกต่างกัน
  3. Programming languages
    วิทยาศาสตร์ข้อมูลต้องการการทดสอบหลายรูปแบบและการปรับให้เหมาะสม พร้อมกับการสร้างภาพข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องทำการอนุมานทำนายหรือการตัดสินใจ
  4. การจัดการข้อมูล
    อัลกอริธึมและการผลิตขององค์กรต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อจัดเก็บข้อมูลโดยการระบุค่าเครื่องที่เหมาะสม และให้ระบบสามารถทำงานในสคริปต์ที่กำหนดไว้
  5. รูปแบบการตรวจสอบและความรู้เกี่ยวกับโดเมน
    การจัดรูปแบบข้อมูล โดยมองหารูปแบบและสำรองข้อมูลจากการวิเคราะห์และตรวจสอบทุกขั้นตอน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรม สิ่งนี้เป็นทักษะที่สำคัญของ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
  6. Communication & Visualisation
    การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ในการสื่อสารแบบจำลองหรือการคาดการณ์ที่พวกสร้างขึ้นมา กับฝ่ายงานที่เกี่ยวของ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้
  7. Open Source Community
    วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) มักจะสร้างขึ้นด้วยเครื่องมือ Open Source ฉะนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักการทำงานของระบบเหล่านี้ เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบ

ความน่าสนใจของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)

ความน่าสนใจของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ขึ้นอยู่กับความจำเป็นขององค์กรนั้นๆ วิทยาศาสตร์ข้อมูลอาจช่วยองค์กรสร้างเครื่องมือต่างๆ ที่ไว้ใช้ทำนายความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์ หรือช่วยให้องค์กรสามารถบำรุงรักษาและป้องกันการ Downtime ที่ไม่ได้วางแผนไว้ได้ และยังสามารถช่วยคาดการณ์ได้ว่าเราควรวางผลิตภัณฑ์ ไว้บนเชลฟ์ของซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือคาดได้ว่า ด้วยรูปลักษณ์และลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้น จะมีความนิยมเป็นอย่างไร เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วยนวัตกรรมข้อมูลกลายเป็นฟังก์ชันหลักขององค์กร เช่น การขาย, การตลาด หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ตาม ในปัจจุบันล้วนต้องใช้ วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ในการทำงานทั้งสิ้น

ข้อมูลจาก Gemalto ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของข้อมูล ในปี 2018 พบว่า 89% ขององค์กรสามารถใช้งาน วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เพื่อให้เกิดความโดดเด่นในการแข่งขันทางธุรกิจ

สำหรับองค์กรที่สนใจการทำ ‘Big Data’ สร้างsolutionระบบการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลดิบ (Raw data) ไว้ใน ทะเลสาบข้อมูล (Data Lake) รวมถึง โซลูชันการจัดการแหล่งเก็บข้อมูลใหม่ตามโครงสร้าง ที่เรียกว่า โกดังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อสร้างระบบสำหรับสกัดข้อมูล (Extract) ปรับแต่งโครงสร้างข้อมูล (Transform) และนำไปจัดเก็บ (Load) หรือ ETL จาก Data lake เข้าสู่ Data warehouse

 

เริ่มพัฒนาโซลูชัน ‘Big Data’ กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้!

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

LINE : @NipaCloud

Website: https://www.nipa.cloud/

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud

Email: sales@nipa.cloud

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

ปฏิวัติฝ่าย IT รองรับ Cloud อย่างจริงจัง!

การเกิดขึ้นของ คลาวด์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งในเรื่องของธุรกิจและการจัดระบบขององค์กร มีองค์กรอีกหลายแห่งยังคงใช้โปรแกรมแบบเก่าและมีทีม IT ดูแลด้วยวิธีการเดิมๆ ทั้งที่การเปลี่ยนระบบ Cloud จำเป็นต้องมีการปรับใช้ Application ใหม่ๆ ที่มีความเสถียร และเข้ากันได้กับ คลาวด์ มากกว่า

ระบบ Cloud  เปิดโอกาสให้ IT Operation team สามารถเริ่มต้น IT Project ได้เอง ด้วยบริการ SaaS และ Service เสริมต่างๆ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงนี้มาพร้อมกับความเสี่ยงด้าน Security และ Workflow แต่สิ่งที่องค์กรควรทำคือลองเปลี่ยนไปใช้ Cloud Application ใหม่ๆ แยกส่วน Process ของ Application review ออกจากฝ่าย Application justification ทางด้าน Compliance และ Security Review ก็ควรประกอบด้วย Policy document ซึ่งระบุ Requirement ของ Application ที่จะใช้งาน และ Review Process โดยทีม IT จะต้องหมั่นสำรวจทรัพยากรของ Cloud application และตัดสินใจว่าต้องการใช้ทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อให้สามารถทำงานได้ในระดับมาตรฐาน

นอกจากนี้ Cloud ยังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของฝ่าย IT อีกด้วย เพราะทรัพยากรของ คลาวด์ สามารถเช่าใช้งานได้ตามต้องการ ทำให้การวางแผนของทีม IT เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ต้องขึ้นอยู่กับทรัพยากรส่วนกลางของระบบ, Tools, และ Staff ภายในองค์กรเหมือนแต่ก่อน ระบบ Cloud ทำให้ฝ่าย IT สามารถจัดการกับความต้องการใช้งานทรัพยากรระยะสั้นได้ในราคาประหยัด ทั้งนี้ IT Operation team ก็ควรเช็คค่าใช้จ่ายว่ามูลค่าของ Data Center สูงกว่าการใช้ คลาวด์ จริงหรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนของ PaaS กับ SaaS ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะช่วยประหยัดค่าบริการไปได้เยอะกว่า IaaS การตรวจสอบอย่างละเอียดและวางแผนให้รัดกุมมากพอ จะส่งผลดีต่อการจัดสรรทรัพยากรในระยะยาว นอกจากนี้ยังควรมีการเตรียม Technical support รองรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง แล้วจึงกำหนดปริมาณทรัพยากร Data Center ให้สอดคล้องกับความพร้อมของ Cloud service ทั้งนี้ต้องไม่ลืมคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับส่วน Security และ Governance อีกด้วย

ปรับแต่ง Application deployment model เพื่อใช้กับ คลาวด์

เมื่อย้ายมาใช้ คลาวด์ แล้ว ฝ่าย IT ก็ต้องเตรียม Application Deployment Model ให้พร้อมรองรับการทำงานที่ครอบคลุม ซึ่งการที่แต่ละ Application มี Requirement แตกต่างกัน เพราะใช้ Resource ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความยุ่งยากระหว่างการ Deploy ควรจะมีการสร้างนโยบายพื้นฐานเพื่อช่วยให้ฝ่าย IT และ User สามารถรับมือกับจำนวนทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้นได้ง่าย โดยโฟกัสไปที่ส่วนของโครงสร้างองค์กร, DevOps, Application Lifecycle Management (ALM) เป็นหลัก

การเปลี่ยนมาใช้ คลาวด์ อาจเสี่ยงต่อปัญหาการทำงานไม่ต่อเนื่องได้ เมื่อมีการย้ายมาใช้งานระบบใหม่ องค์กรอาจขาด IT support ทำให้ Workflow เกิดความไม่ต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการออกแบบ Cloud plan ให้สนับสนุนกับโครงสร้างองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

กลยุทธ์ทาง DevOps สามารถช่วยเรื่อง Scale ของ Resource ที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดย DevOps คือการใช้ Automate deployment tools เพื่อสร้างและรักษาเสถียรภาพ Application บน Host platform หากไม่ใช้ Tools นี้จะต้องไปพึ่ง Manual process ราคาแพง นอกจากนี้บาง Tools ของ DevOps ยังสามารถปรับแต่งให้ขยายขอบเขตการใช้งานไปยัง Cloud platform ได้อีกด้วย

ขั้นตอนสุดท้ายคือเรื่องของ ALM มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา Application ด้วยการกำหนด Specific testing และ Deployment rules ผ่านทาง ALM Software แบบพิเศษ หลายๆ องค์กรจะรวม Security และ Governance เข้าไปในขั้นตอนของ ALM ด้วย ซึ่งนับว่าสำคัญมากต่อการวางแผนใช้งาน คลาวด์

ทำความรู้จักกับกระบวนการทำงานของ ระบบ Cloud

Cloud (คลาวด์) หลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง เพราะตอนนี้ ระบบ Cloud กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ แต่แค่เคยได้ยิน และอยากทำความเข้าใจว่าระบบ Cloud คืออะไร ทำงานอย่างไร วันนี้เราจะคุณไปรู้จักกับ Cloud (คลาวด์) กันนะคะ

มันคือเทคโนโลยีตัวหนึ่ง ขอยกตัวอย่างการทำงานของ Cloud (คลาวด์) ที่ใกล้ตัวก็คือ คุณใช้ iPhone แต่เมื่อคุณใช้ iPad ทุกอย่างบน iPhone คุณไปอยู่บน iPad Auto หรือแม้การเปลี่ยนโทรศัพท์เพียง Login iCloud ทุกอย่างก็กลับมาหมด อย่างนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของมนุษย์มากขึ้น

เสมือนเหมือนกับ Server ที่มีไว้เก็บข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ตอบโจทย์กับยุคเทคโนโลยีอย่างมาก ตอนนี้ Cloud (คลาวด์) กลายเป็นส่วนที่สำคัญมากทีเดียวกับบริษัทใหญ่ ผู้ใช้บริการ Cloud ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลอย่างรอบคอบ Cloud (คลาวด์) ในที่นี้เรียกว่า Private Cloud   หรือเรียกง่ายๆว่า Cloud (คลาวด์)

ส่วนตัวใช้ในแต่ละแผนกขององค์กรเข้ามาใช้งานได้ ในต่างประเทศนิยมใช้  Cloud (คลาวด์) เป็น Server มาก เพราะเวลาเราไม่ได้ไปทำงานในออฟฟิศ ก็สามารถซิงค์ข้อมูลกับอุปกรณ์และสามารถทำงานที่บ้านได้

อย่างไรก็ตาม  Cloud (คลาวด์) ก็พยายามเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในวงไอทีธุรกิจมากขึ้น ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างมาก แต่ Cloud (คลาวด์) ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ให้มนุษย์ได้สะดวกสบาย เพราะ Cloud (คลาวด์) สามารถเรียกข้อมูลคืนได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาไปให้ร้านหรือคนที่เป็นไอทีมาแก้ไขให้ เพียงแต่เรา Login ในระบบ Cloud ก็สามารถกู้ข้อมูลมาได้อย่างง่ายดาย

เรียกได้ว่าเราสามารถแก้ปัญหาเองได้อย่างง่ายดาย  เห็นไหมละค่ะว่า Cloud (คลาวด์) คือเรื่องใกล้ตัวและมีอิทธิพลอย่างมากในการใช้ชีวิตในการทำงานของเรา

training.nipa.cloud เปิดคอร์ส เปิดหลักสูตร ฝึกอบรม Cloud OpenStack หลักสูตรและวิทยากรได้รับการรับรองจาก Mirantis หลักสูตรอบรมเป็นภาษาไทย งานสัมมนาด้านเทคโนโลยี Cloud

Cloud Computing เทคโนโลยีสมัยใหม่แห่งอนาคต

Cloud คือเทคโนโลยีที่เริ่มต้นมาจากการทำ Virtualization ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นจนให้ผู้ใช้งานสามารถให้บริการตัวเองได้ บริการคลาวด์ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่ฝากไฟล์ไว้บนอินเทอร์เน็ต แต่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังในการประมวลผล หน่วยความจำ และพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล คลาวด์ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา และยังเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น โดยมีบริการคลาวน์ 3 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้

1.Software as a Service (SaaS) เป็นการให้บริการคลาวด์ด้านซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่น ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเงินจ้างทำระบบคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ไม่จำกัด ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่เราใช้เป็นประจำ เช่น Gmail Google Docs หรือ Google app โดยการใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่อง สามารถใช้งานผ่าน Cloud ได้เลย สามารถทำที่ไหนหรือใช้คอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ หรือสามารถแชร์งานกับเพื่อนๆ ได้

2.Platform as a Service (PaaS) การให้บริการด้าน Platform การบริการจะมีการเตรียมข้อมูลเพื่อพัฒนา Software และ Application เอาไว้ให้เรียบร้อย สามารถไปใช้ได้เลย ช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ เช่น Google App Engine, Web Application, Snapchat เป็นต้น

3.Infrastructure as a Service (IaaS) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ( Infrastructure) และระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Storage) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application เช่น บริการ Cloud storage อย่าง DropBox ซึ่งให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูล

ดังนั้นในปัจจุบันผู้คนจึงนิยมเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์อย่างแพร่หลาย ระบบคลาวด์ถูกออกแบบมาให้รองรับการขยายตัวของระบบได้ง่าย เพื่อรองรับปริมาณและความต้องการของผู้รับบริการคลาวด์ ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาทุกอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมดกังวลเรื่องข้อมูลจะหาย นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นต้องซื้อแฟลชไดร์ฟหรือ Memory Card ที่สำคัญปลอดภัยจากไวรัสแน่นอน