คลังเก็บป้ายกำกับ: cloud computing

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing

ในช่วงโควิด-19 หรือ ยุคที่เกิด ‘New Normal’ แบบนี้ หลายๆ องค์กรก็ต้องมีการหาSolutionการทำงานที่คล่องตัว สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และการควบคุมการทำงานที่ง่ายดาย 

‘Cloud Computing’ กลายเป็นคำตอบของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการทำงานแบบเดิมๆ และปรับให้การทำงานคล่องตัว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีทรัพยากรด้าน IT ที่ยืดหยุ่น 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ ‘Cloud Computing’ ก็คือคอมพิวเตอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจว่า เซิร์ฟเวอร์จะตั้งอยู่ที่ไหน เพราะ สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะที่ดีของ ‘Cloud Computing’ ก็คือ 

– สามารถควบคุมต้นทุนได้ (Manage Your Finance) 

– สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา และหลากหลายอุปกรณ์ (Go Mobile) 

– มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ควบคุมข้อมูลต่างๆ (Store It Up) 

– คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไร้ข้อจำกัด รวมถึงยังเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น (Share Information — Collaboration) 

– ระบบการทำงาน Information System ที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นภาระกับผู้ดูแลระบบ (Alleviate Complicated of Information System) 

ใครหลายๆ คน อาจจะรู้จัก ‘Cloud Computing’ กันมาบ้างแล้ว แต่ความหมายของมันกับสิ่งที่มันสามารถทำได้ ก็อาจเป็นคำถามในใจของใครหลายๆ คน โดย ‘Cloud Computing’ เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น 

  1. Disaster Recovery-as-a-Service 

สิ่งแรกที่ Cloud Computing สามารถใช้ประโยชน์กับองค์กรได้ คือ การใช้งาน Cloud เป็น Workload ในการเก็บ Backup ข้อมูลทั้งหมด เมื่อระบบเกิดปัญหาขัดข้อง หรือ เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถคาดคิดได้ อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำ DR-site แบบ On-premise จะมีการลงทุน H/W, และ S/W ไว้ที่ site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน ซึ่งมีความซับซ้อนในการสร้างระบบ DR-Site แบบ On-premise อย่างมาก 

Cloud Services จึงเป็นการทำ DR-site สำรองระบบการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่Application ข้อมูล และการทำงานไปที่ Site สำรอง โดยในปัจจุบัน cloud server thai ก็มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และความรวดเร็ว ทำให้ Cloud Computing สามารถเก็บรักษา Backup ข้อมูลทั้งหมดได้ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่น้อยว่าการลงทุน DR-Site แบบ On-premise อีกด้วย 

  1. Infrastructure-as-a-Service 

ต่อมาประโยชน์ของ Cloud Computing เป็นการใช้งาน Workload ที่มีการใช้งานทรัพยากรขั้นสูง คือ Cloud Services สามารถที่จะรองรับการสร้าง instance cloud หรือ ทรัพยากร Compute, Network, Storage ที่ระบบComputerต้องการได้ โดย Cloud จะช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ เช่น SLA, ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบการดูแลไฟฟ้าและควบคุมอากาศ เป็นต้น 

นอกจาก Cloud Computing จะสามารถรองรับทรัพยากรที่องค์กรต้องการใช้งานได้ ยังมีฟีเจอร์และแอปพลิเคชันรองรับกับการใช้งาน เช่น VPC network ในการป้องกันเครือข่ายของระบบ, Image sharing ฟีเจอร์ลัดช่วยในการควบคุมทรัพยากร Cloud เป็นต้น รวมถึงแอปพลิเคชัน Laravel, Docker, Joomla, Mongodb, Magento, My SQL, LEMP เป็นต้น 

  1. Development and Test Environment 

สำหรับ Cloud Services มีฟีเจอร์ที่พร้อมกับการทดสอบและพัฒนาสภาพแวดล้อมของ Application ในองค์กร รวมถึง Workload ในการทำงานแบบอัตโนมัติก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย งานวิจัยล่าสุดจาก Voke พบว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ของระบบ IT ในองค์กรมีผลอย่างมากต่อการพัฒนา Application โดยข้อจำกัดของระบบ On-Premise มีผลต่อความล่าช้าและการหยุดชะงักในการพัฒนาถึง 44% และมีผลต่อการทดสอบถึง 68% 

การสร้าง Environment ของระบบ IT บน Cloud Computing ที่มีความยืดหยุ่นและมีทรัพยากรที่เพรียบพร้อมมากกว่าจึงเป็นคำตอบในการพัฒนา Application ที่รวดเร็ว ลดความซับซ้อนขั้นตอนการเตรียมการได้ดีกว่านั่นเอง 

  1. Big Data Analytics 

Cloud Services สามารถช่วยบริษัทในการประมวลผลและวิเคราะห์ Big Data ได้รวดเร็วขึ้น โดยการนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการปรับปรุงธุรกิจได้ โดยทรัพยากรพื้นฐานที่มีอยู่บน Cloud มากมาย เช่น instance cloud, Image sharing รวมไปถึงระบบความปลอดภัยอย่าง VPC network ก็ช่วยให้การสร้าง Big Data มีความคล่องตัวขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่าย

  1. Application Development 

นักพัฒนา Application จะรู้ดีสำหรับการออกแบบ Application บนสภาพแวดล้อมที่ต้องการ ซึ่ง Cloud Services มีความยืนหยุ่นในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Public Cloud หรือ Private Cloud ก็สามารถตอบโจทย์การออกแบบ การจัดการข้อมูล เครือข่ายของ Applacation หรือกระทั่งระบบความปลอดภัยต่างๆ Cloud Computing ก็สามารถสร้างการทำงานที่ตอบโจทย์การพัฒนา Application ได้ เช่น cognitive service, AI, backup/recovery, ChatBot เป็นต้น 

 

เปลี่ยนมาใช้ Cloud ไทย กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้! 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

LINE : @NipaCloud 

Website: https://www.nipa.cloud/ 

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/ 

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud 

Email: sales@nipa.cloud 

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

Cloud Backup vs Off-Site Backup

Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?

Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?

Cloud Backup vs Off-Site Backup
ระบบการสำรองข้อมูลมีส่วนสำคัญ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายของข้อมูลในกรณีต่างๆ เช่น ความเสี่ยงเรื่องอัคคีภัย หรือภัยพิบัติ โดยจะเป็นการสำรองข้อมูลภายนอกไซต์ขององค์กร ซึ่งโซลูชันการสำรองข้อมูลนั้นมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Off-site backup และ Cloud backup 
 

 

Off-site backup การสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  

ปกติโดยทั่วไปแล้ว ถ้าพูดถึงการสำรองข้อมูลแบบ off-site backup จะหมายถึงการสำเนาข้อมูลที่เราสำรองไว้ยัง Hardware ต่างๆ เช่น เทป, Hard Disk หรือ Server ซึ่งประเด็นหลักอยู่ที่คุณสมบัติในการกู้คืนข้อมูล ในกรณีที่แหล่งข้อมูลดั้งเดิมที่เก็บไว้นั้นไม่สามารถใช้งานได้ เพราะฉะนั้น การสำรองข้อมูลแบบ off-site backups จึงจัดได้ว่าเป็นการสำรองข้อมูลแบบ storage-oriented ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง  

  

Cloud backup การสำรองข้อมูลที่ปลอดภัย คล่องตัว และเพิ่มศักยภาพที่มากขึ้น  

ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ Cloud Backups ซึ่งเป็นบริการที่อยู่ในรูปแบบ ‘การนำข้อมูลของเราไปไว้ที่ไหนก็ได้’ ซึ่งบริการเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้การซื้อ การเลือกการจัดเก็บ การรักษาความปลอดภัย และการดึงข้อมูลง่ายมากขึ้น และเพราะแบบนี้เอง Cloud Backups จึงถือได้ว่าจัดอยู่ในประเภท service-oriented  

  

เปรียบเทียบ Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?  

แล้วการ Backup แบบไหนถึงเหมาะกับเราล่ะ? ถ้าหากคุณเกิดความรู้สึกสงสัยแบบนี้ ให้ลองตัดสินจากทั้ง 4 คำถามนี้ ที่จะช่วยให้คุณสามารถเลือกกลยุทธิ์ที่เหมาะสมได้  

  

อะไรที่คุณต้องการเป็นพิเศษ?  

บางทีองค์กรของคุณอาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น การเข้ารหัสแบบ 448-bit ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ให้บริการต่างๆ จะมีข้อเสนอต่างๆ ยื่นให้ แต่ก็เลือกได้ไม่มากเท่าไหร่ และอาจไม่ตรงตามกับที่คุณต้องการ ดังนั้น การใช้ off-site backup storage จะทำให้คุณสามารถควบคุมเอง เพื่อให้ตรงกับความต้องการได้ทั้งหมด  

  

คุณจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือขนาดไหน?  

ถ้าหากคุณต้องการความช่วยเหลือที่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและกำหนดค่าการสำรองข้อมูล หรือช่วยจัดการการกู้คืน การสำรองด้วยระบบ cloud hosting ก็น่าจะตรงกับความต้องการของคุณมากกว่า เนื่องจากมีผู้เชี่ยชาญด้าน Cloud Services ให้คำปรึกษา ดูแล และแก้ไขการใช้งานได้ตลอด 24×7 นั่นเอง  

  

ราคาไปด้วยกันกับทุนองค์กรหรือไม่?  

สำหรับระบบ cloud hosting จะมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า off-site เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ การใช้งานจริง หรือจะเป็นบริการแบบรายเดือน (มีทั้งรายชั่วโมง, รายวัน, รายเดือน) ตลอดจนการใช้งานที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ที่เรียกว่า ‘Private Cloud’ แต่สำหรับ off-site ผู้ใช้งานจะต้องลงทุนกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เอง รวมถึงการดูแลรักษา และเรียนรู้การใช้งานด้วยตัวเองอีกด้วย  

  

แบบไหนปกป้องข้อมูลได้ดีที่สุด?  

ในข้อนี้สามารถเปรียบได้ประมาณว่า ‘จะซื้อ หรือจะสร้าง’ คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดต่อการป้องกันข้อมูล ได้ด้วยตัวเองหรือไม่ หรือว่าคุณควรจะไปใช้บริการของผู้ให้บริการ cloud hosting ดีกว่า? พอเกิดคำถามเหล่านี้ ก็อยากให้วนกลับไปที่คำถามแรก ถ้าหากว่าความต้องการหรือเงื่อนไขของคุณค่อนข้างเรียบง่าย ไม่มีอะไรมาก ก็ตรงดิ่งไปที่  Cloud Backup ดีกว่า  

  

จากคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ ไม่มีผิด ไม่มีถูก มีแต่ว่าตรงหรือไม่ตรง คุ้มหรือไม่คุ้ม สะดวกหรือไม่สะดวก ฉะนั้น คนที่สามารถเลือกรูปแบบการสำรองข้อมูลได้ดีที่สุด ก็คือตัวคุณและคนในองค์กรของคุณเอง 

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

เว็บไซต์ E-Commerce เป็นชาแนล ที่หลายๆ แบรนด์ธุรกิจเลือกใช้งานสำหรับสื่อสารและทำองค์กร ซึ่งความสำคัญของเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนการสร้างร้านค้าที่มีความสวยงามและสะดวก แต่อยู่ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ ซึ่งก็มีหลายโปรแกรมสำหรับการเริ่มต้นทำ เว็บไซต์ E-Commerce หนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความสะดวก คือ Magento  

  

สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce มักจะมีปัจจัยแวดล้อมหลายๆ รูปแบบ ทำให้การพัฒนาและ Run ระบบส่วนใหญ่ นักพัฒนาจะใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง Cloud Thai ในปัจจุบันก็มีประสิทธิภาพ ความเร็ว และมียั่งยืนในการ Run ระบบอย่างต่อเนื่อง  

  

Magento คืออะไร?  

  

Magento เป็นโปรแกรมจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีฟีเจอร์การใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง, ระบบชำระเงิน, การจัดส่ง, ระบบโปรโมชัน ซึ่งโปรแกรมไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป ผู้ใช้งานต้องเขียน โค้ด ขึ้นมา ทำให้มีความยืดหยุ่นในการสร้าง และไม่มีความตายตัวในการออกแบบ แต่ยังคงมีฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้การสร้างเว็บไซต์ที่ง่ายดายมากขึ้น  

  

Magento ใช้งานอย่างไร?  

  

สำหรับการใช้งาน Magento มีการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ  

  

  1. โปรแกรมทำงานบนคอมพิวเตอร์

  2. ใช้งานบนCloud Computing 

  

การใช้งานบนคอมพิวเตอร์นั้นก็เหมือนการใช้งานแอปฯทั่วไปที่ผู้ใช้งานต้องติดตั้งโปรแกรม แต่ด้วยการทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัดเรื่องของ Hardware ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนา ไปจนถึง การ Run ระบบเว็บไซต์ E-Commerce เนื่องจากข้อมูลจำนวนมหาศาลบนเว็บไซต์ รวมถึงความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้ส่วนใหญ่คนเลือกใช้งาน Magento บน Cloud Computing กันมากกว่า  

  

Magento บน Cloud Thai ดีกว่าอย่างไร? 

  

Magento เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีความโดดเด่นแล้วได้รับความนิยม ซึ่งการทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ต้องมีทรัพยากรบนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service) บน Cloud Computing ที่เหมาะสม ซึ่ง Cloud Thai สามารถตอบโจทย์การทำงานได้มากกว่า Cloud Global อย่างแน่นอน เนื่องจากมี เครือข่ายการทำงาน ที่รวดเร็วกว่า นั่นทำให้การทำงานมีความรวดเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้น 

  

Cloud Thai นั้นมีสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม สามารถเพิ่ม-ลดขนาดของทรัพยากร Cloud Server ได้ทันที ตอบสนองกับการทำงานที่มีขนาดใหญ่ หรือการเพิ่มขึ้นของข้อมูลบนเว็บไซต์ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบและให้การดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดการใช้งานอีกด้วย  

  

ทำไมต้องใช้งาน Cloud Thai บน NIPA.Cloud 

  

Magento เป็นแพลตฟอร์มที่ต้องการสภาพแวดล้อมบนระบบที่มีความเสถียร ซึ่ง NIPA.Cloud สามารถสร้างประสิทธิภาพได้เหนือกว่า  

  

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

  

NIPA.Cloud มีฟังก์ชันการทำงานให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Magento ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยฟังก์ชัน Marketplace cloud พร้อมกับสภาพแวดล้อมในการรองรับปริมาณข้อมูล รวมถึงคุณสมบัติที่รองรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพบน Cloud Server ที่ช่วยลดความซับซ้อนของระบบ IT และมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ อยู่เสมอ ทำให้ระบบเครือข่ายและข้อมูลของนักพัฒนาทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบน Cloud Computing ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem  

  

  1. แพ็คเกจที่เหมาะสมสำหรับSMEs จนถึงระดับ Enterprise  

  

NIPA.Cloud มีเครื่องมือและทรัพยากรที่ธุรกิจสามารถปรับขนาดได้อย่างยืนหยุ่น ที่สามารถควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-go ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบ On-prem มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังรองรับการ Migrate-to-Cloud หรือการย้ายระบบมายัง Cloud Server อีกด้วย  

  

ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน Instance Cloud ได้ตามต้องการและมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองการทำงานที่รวดเร็ว มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเสถียรต่อการทำงานบน Cloud Server  

  

  1. การปรับใช้และกำหนดค่าWorkflow ได้อย่างต่อเนื่อง  

  

การทำงานบน Cloud Computing ที่มีสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์ของธุรกิจทุกระดับ ตั้งแต่ Instance Cloud, Network และ Storage ที่สามารถปรับใช้ได้และมีการใช้งานที่ง่าย สะดวก ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน คืนค่า และกำหนดค่าได้อย่างอิสระ สามารถควบคุมการพัฒนา Magento ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด  

3.1 เพิ่ม-ลดทรัพยากรได้ทุกเมื่อ  

3.2 สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น  

3.3 เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้  

  

  1. เพิ่มความปลอดภัยด้วยCloud Firewall บน Magento  

  

Magento บน Cloud มีระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของ Cloud ทำให้ระบบมีความปลอดภัย ด้วยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีทีมงานดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น  

  

NIPA.Cloud มีระบบความปลอดภัยบน Cloud ที่มากมาย ตั้งแต่ Cloud Firewall ในการจัดการอนุญาตการใช้งาน port บน Instance Cloud รวมถึงรองรับการทำงานแบบ หลาย project เพื่อสะดวกต่องานที่เป็นลักษณะ project ย่อยๆ เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงมีฟังก์ชันความปลอดภัยอื่นๆ เช่น Keypair, External IP และ VPC Network เป็นต้น

Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

Cloud Computing

Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)

 

เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และประหยัดต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง

 

ประเภทของ Cloud Computing

 

  1. Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ Software ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง

 

  1. Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ

 

  1. Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ซึ่งดึงข้อดีของทั้งสองระบบออกมาใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบนระบบ Cloud Computing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้งาน Private Cloud ในการรัน Software และเก็บข้อมูลภายในองค์กร แต่ใช้ Public Cloud ในการรัน Website รวมถึงรองรับการทำงานช่วงที่มี Workload สูง

 

รูปแบบการใช้งาน Cloud Computing

 

  1. SaaS (Software-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Software โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างและใช้ Software ตัวนั้นได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

 

  1. IaaS (Infrastructure-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรของคลาวด์ในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายแบบเสมือน (Virtualization) ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อหรือติดตั้ง Hardware ปริมาณมากเป็นของตัวเอง

 

  1. PaaS (Platform-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Platform โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Hardware และ Software ได้อย่างอิสระ ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ทันที

 

  1. DRaaS (Disaster Recovery-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง หรือ เหตุขัดข้องที่ทำให้ Data Center ไม่สามารถทำงานได้ ระบบก็จะมีการโอนย้ายการทำงานไปยังระบบการทำงานสำรองแบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

 

เหตุผลที่องค์กรควรติดตั้ง DR หรือ Site สำรอง เนื่องจากมีการระบุไว้ตามกฎหมายว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องมี Site สำรอง รวมถึงมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อข้อมูลขององค์กรและผู้ใช้งาน แต่การลงทุนทำ Site สำรองหรือ DRaaS นั้น มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การใช้งานคลาวด์จึงสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่มีราคาถูกกว่าได้ รวมถึงสามารถใช้งานบริการอื่นๆ จากคลาวด์ได้ เช่น Data Base-as-a-Service (DBaaS), Mobile Back-End-as-a-Service (MBaaS), Functions-as-a-Service (FaaS)

 

ความปลอดภัยของการใช้งาน Cloud Computing

 

อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าข้อดีของการใช้งาน Cloud Computing คือสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้คนมักตั้งคำถามเป็นเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล

 

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Computing นั้นมีความรวดเร็ว สะดวก ซึ่งก็มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย แม้กระทั่งในตัวของ Public Cloud ที่เป็นคลาวด์สาธารณะ แต่ก็มีระบบรักษาความปลอดภัย อย่างเช่น Keypair, VPC หรือระบบการตั้งค่า Network นอกจากนี้หากผู้ใช้งานเป็นระดับองค์กรก็สามารถใช้งาน Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากองค์กรสามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง หากต้องการใช้งานที่คล่องตัวที่สุดก็คือ Hybrid Cloud ที่รวมเอาข้อดีของการใช้งานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud รวมกัน

 

ใช้งาน Cloud Computing คุ้มกว่าอย่างไร

 

1.Cost Savings

ควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-use ใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น เมื่อเทียบกับการทำงานแบบ On-prem ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้ง Hardware และดูแลระบบ รวมถึงการจ้างเจ้าหน้าที่ในการดูแลอีกด้วย

 

2.Security

มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมีการยกระดับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีเจ้าหน้าที่บริการตลอด 24 ชั่วโมง, มี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น

 

3.Flexibility

สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น 

 

4.Mobility

เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ตลอดเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

 

5.Reduce Complexity

ลดความซับซ้อนของระบบ IT การดูแลระบบ Infrastructure ขององค์กร เช่น ระบบไฟฟ้า, การเชื่อมต่ออุปกรณ์, การบำรุงรักษา เป็นต้น แต่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรทั้ง Hardware และ Software บนคลาวด์ได้ทันที

 

6.Automatic Software Updates

การทำงานบนคลาวด์จะมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ Software อยู่เสมอ

 

7.Sustainability

ระบบเครือข่ายและข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบนคลาวด์ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem 

 

สำหรับบริการ Cloud Computing รูปแบบต่างๆ Nipa.Cloud เราสามารถให้บริการได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้ง่ายและได้รับประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยซอฟต์แวร์ NCP ที่มีระบบ Billing แบบ Pay-As-You-Go พร้อม Data Center ของเราเองที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013, ISO/IEC 29110 และรางวัลระดับสากล PM Export Award 2019, 2019 BEST INTELLECTUAL PROPERTY AWARD รวมถึงการได้รับสิทธิบัตรยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 8 ปี จาก BOI

ทำไม Cloud ถึงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพราะในปัจจุบันมีคนเริ่มรู้จัก และเข้าใจเรื่องเกี่ยว Cloud Computing กันมากขึ้นแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้ Cloud เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้น ทำให้ Cloud Computing มีแนวโน้มพัฒนา และเติบโตเรื่อยๆ โดยสาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักของการทำให้ Cloud เติบโตอย่างทุกวันนี้และมีแนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ ก็คือ ความเร็ว และระบบของ Internet นั่นเอง

โดยที่ความเร็ว และระบบของ Internet ถูกปรับให้มีความเร็วเพิ่มสูงขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อก่อนเราต้องมี Server เป็นของตัวเอง เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราก็สามารถปรับปรุงข้อมูลจากเครื่อข่ายต่างๆ ได้เอง แต่เดี๋ยวนี้ระบบ Internet ก็ได้พัฒนามาไกลมากแล้วจริงๆ จากเมื่อก่อนใช้สายลากต่อตามบ้าน หรือตามบริษัท องค์กร ปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบ Internet ไร้สายที่เราเล่นผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนี้เพิ่มขึ้นมาอีก นั่นทำให้เราสามารถเข้าถึง และจัดการข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนโลกนี้ได้อย่างสบายๆ เมื่อมองกลับมายังปัจจุบันระบบ Cloud  นั้นมันจะสามารถเข้ามาช่วยให้การทำงาน และการเข้าถึงข้อมูลของเราได้เร็วขึ้นแน่นอน เพราะข้อจำกัดต่างๆ ลดลง และการเชื่อมโยงโครงข่าย Internet เข้าถึงกันหมดแล้วนั่นเอง

หากใครมีความสนใจ อยากรู้เรื่อง Cloud Computing แบบละเอียดมากขึ้นทาง Nipa Cloud ได้มีการจัดอบรม Cloud ในหลักสูตร Cloud Computing Fundamentals อยู่นะคะ โดยการอบรม Cloud ครั้งนี้ เรามุ่งเน้นในการพัฒนามุมมองทางธุรกิจ และมีการให้ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของ Cloud Computing และ OpenStack ด้วยนั่นเอง โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ https://training.nipa.cloud/cc101-2/ เลยนะคะ

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นบริการ หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Private, Public, และ Hybrid ถ้าอยากรู้ว่าแบบไหนที่น่าใช้ อันดับแรกต้องดูที่ระดับของความปลอดภัย และฟังก์ชั่นที่ตรงตามความต้องการ ประกอบด้วยลักษณะของ Data ที่จะนำไปใช้ร่วมกับ Cloud นั่นเอง

Public Clouds

Public Cloud คือ รูปแบบการให้บริการ Service และ Infrastructure ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่มีการติดตั้งใด ๆ ในพื้นที่ของผู้ใช้งาน โดยระบบนี้เป็น Cloud ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการแชร์ทรัพยากร แต่ก็มีข้อด้อยในเรื่องของระบบความปลอดภัยหากเทียบกับ Private Cloud

Public Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

  1. Workload มาตรฐานสำหรับ Application ถูกใช้โดยคนจำนวนมาก เช่น E-mail
  2. ต้องการทดสอบและพัฒนา Application Code
  3. มี SaaS (Software as a Service) จากผู้ให้บริการที่เตรียมระบบรักษาความปลอดภัยและแผนการรับมือมาเป็นอย่างดี
  4. ต้องการความสามารถเพื่อรองรับ Workload ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง Peak Time
  5. มีโครงการหรืองานที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น
  6. ต้องการทำ ad-hoc software development project โดยใช้ PaaS (Platform as a Service) ผ่านทางระบบ Cloud

ข้อควรจำ: ผู้ดำรงตำแหน่งสูงในฝ่าย IT หลายคนกังวลเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ Public Cloud จึงต้องใช้เวลาพิจารณาศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าระบบถูกออกแบบมาดี เพื่อป้องกันหรือรับมือได้เมื่อเกิดปัญหา นอกจากนี้การประหยัดงบประมาณในระยะสั้นอาจจะส่งผลเสียในระยะยาวได้

Private Clouds

Private Cloud คือ รูปแบบการให้บริการ Service และ Infrastructure ทั้งหมดจะอยู่ใน Private Network ส่วนตัวของแต่ละบริษัท ระบบนี้มีความโดดเด่นด้านระบบรักษาความปลอดภัยและการควบคุม ซึ่งมีค่าบำรุงรักษา การจัดซื้อ การซ่อมแซม Infrastructure และ Software ทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการต้องจ่าย

Private Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

  1. มีการทำงานเกี่ยวกับ Data และ Application สำคัญ ซึ่งจะต้องมีความปลอดภัยและการควบคุมการเข้าถึงมาเป็นอันดับแรก
  2. มีการทำธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นพิเศษ
  3. บริษัทหรือองค์กรมีขนาดใหญ่มากพอที่จะรัน Cloud Data Center อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง

ข้อควรจำ: เส้นแบ่งระหว่าง Private และ Public Cloud เริ่มจะไม่ค่อยชัดเจน เพราะว่าตอนนี้บางผู้ให้บริการ Public Cloud เริ่มมีบริการเสริมเป็น Private เวอร์ชั่นของ Public Cloud ขึ้นมา และผู้ให้บริการ Private Cloud บางรายก็มีบริการ Public เวอร์ชั่น ที่มีความสามารถไม่ต่างกับ Private Cloud ออกมาเช่นกัน

Hybrid Clouds

Hybrid Cloud เป็นรูปแบบที่ผสมความสามารถของ Public Clouds และ Private Clouds ซึ่งการเลือกใช้ Hybrid Cloud นั้นได้นำความสามารถของ Cloud แต่ละแบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจแยกเป็นแต่ละส่วนได้ แต่ข้อเสียก็คือ ผู้ใช้บริการต้องคอยตรวจเช็คการทำงานของ Security Platform ที่แตกต่างกัน เพื่อให้แต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

Hybrid Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

  1. ต้องการใช้ Application แบบ SaaS แต่ต้องการเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นผู้ให้บริการ SaaS จึงสร้าง Private Cloud ขึ้นมาภายใต้ Firewall ของทางผู้ให้บริการ โดยผู้ใช้งานจะได้รับ VPN (Virtual Private Network) มาเป็นตัวเสริมความปลอดภัย
  2. เป็นธุรกิจที่ให้บริการในระบบตลาดแบบแนวตั้ง (Vertical Market) ซึ่งประกอบด้วยลูกค้าหลากหลายและเป็นอิสระแยกจากกัน จึงใช้ Public Cloud เพื่อติดต่อกับลูกค้า แต่เก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายไว้อย่างปลอดภัยภายใน Private Cloud

ข้อควรจำ: ระบบการจัดการ Cloud Computing จะมีความซับซ้อนสูงขึ้นมาทันที เมื่อต้องจัดการทั้ง Public Cloud, Private Cloud, และ Data Center ภายในไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นในการจัดการ Hybrid Cloud จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มความสามารถสำหรับจัดการและจัดกลุ่มการทำงานร่วมของสภาพแวดล้อมที่ต่างกันพวกนี้

ตัวเลือกของ Cloud Computing ที่มีมาให้เลือกอย่างหลากหลายแบบนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่างทั้งหมดของทั้ง 3 แบบข้างต้นแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการว่าจะใช้ Cloud Computing แบบไหนให้เหมาะกับธุรกิจของตนมากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดและผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กร

Hybrid Cloud ส่วนผสมที่ลงตัวของ Cloud Computing

เท่าที่รู้กัน Hybrid Cloud เปรียบดั่งส่วนประกอบระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud นั่นคือการทำงานแบบผสมกันระหว่างระบบทั้งสองระบบนั่นเอง โดย Public Cloud และ Private Cloud ทำงานอยู่ภายใต้องค์กร ข้อดีอย่างหนึ่งที่เด่นชัดเลยคือ Hybrid Cloud จะรวมเอาความสามารถเด่นๆ ของทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ออกมา เช่น ถ้าใช้ Public Cloud เพื่อเก็บข้อมูลทั่วไปขององค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ Private Cloud เก็บข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการใช้งาน Hybrid Cloud ก็มีอยู่หลากหลาย เช่น

– แบ่งผู้ให้บริการเป็นทั้งแบบ Public Cloud และ Private Cloud โดยให้ใช้งานทั้ง 2 แบบ Integrated Service

ผู้ให้บริการ Cloud มี Hybrid Package ให้บริการเต็มรูปแบบ

– สำหรับองค์กรที่ใช้บริการ Private Cloud อยู่ก่อนแล้ว ก็ให้เข้าใจบริการ Public Cloud ก่อนจะประสานการทำงานเข้ากับ Infrastructure ของตน

สำหรับฟีเจอร์เด่นๆ ของ Hybrid Package ก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

– Scalability

ถึงแม้ Private Cloud จะมีความสามารถด้าน Scalability ได้ดีในระดับหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและการติดตั้ง เช่น ติดตั้งภายในหรือภายนอกองค์กร) ซึ่ง Public Cloud สามารถ Scale ได้ด้วยข้อจำกัดที่น้อยกว่า เหตุมาจากทรัพยากรที่ถูกดึงมานั้น มีแหล่งที่มาที่ใหญ่กว่า ดังนั้นการนำข้อมูลที่ไม่เป็นความลับไปไว้บน Public Cloud ให้มากที่สุด ทำให้องค์กรได้ประโยชน์จาก Scalability ของ Public Cloud ไปอย่างเต็มที่ ทั้งยังลดความต้องการใช้ Private Cloud ลงไปได้อีกด้วย

– คุ้มราคาค่าใช้จ่าย

เนื่องจาก Public Cloud ประหยัดงบประมาณมากกว่า Private Cloud ดังนั้น Hybrid Cloud จึงสามารถช่วยองค์กรประหยัดลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นความลับไว้ได้

– ความปลอดภัย

Private Cloud ในระบบของ Hybrid Cloud มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการส่งและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งนับว่าปลอดภัยในทุกๆ ขั้นตอน

– ความยืดหยุ่น

องกรณ์สามารถเลือกปรับแต่งทั้งระบบข้อมูล และราคาค่าบริการทรัพยากรสาธารณะ ที่มีความปลอดภัยได้ตามที่ต้องการ ทำให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด

เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับโลกของเราในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ถ้าเลือกใฃ้ให้ถูกและเหมาะสมกับตัวผู้ใช้ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเราอย่างไม่มีข้อสงสัย

Cloud Computing เบื้องต้น

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยี Cloud Computing ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้นำแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Cloud Computing นำมาสร้างรายได้ให้กับบริษัทหรือหน่วยงานของตนเอง และวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก Cloud Computing ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น จากศัพท์ที่พบได้ทั่วไปในวงการ Cloud

 

Hybrid Cloud คืออะไร?

Hybrid Cloud คือ ระบบ Infrastructure ใดๆ ก็ตามที่มีการรวมเอาการทำงานของ Private Cloud และ Public Cloud เข้าไว้ด้วยกัน โดย Cloud ทั้ง 2 โมเดลจะร่วมกันจัดการด้าน Provisioning, Resource, และ Service ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เช่าใช้ที่สุด โดย Hybrid Cloud มีความ Flexibility และ Portability สูง สามารถทำงานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ ที่สำคัญคือ Solution นี้เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากมีการทำงานด้วยระบบ Encrypted Technology (เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล)

Digital Transformation คืออะไร?

Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ทันสมัยกว่า ด้วยวิธีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น ซึ่งแนวทางการทำงานขององค์กรจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบของ Cloud, Social Network, Mobile Platform และ Big Data ที่นำมาใช้งาน โดยมีลักษณะเป็น Data-Driven มากกว่าเดิม หรือมีแรงผลักดันมาจากข้อมูลนั่นเอง

Cloud-Native Applications คืออะไร?

Cloud-native applications คือ โครงสร้าง Application สมัยใหม่ ที่มีมาตรฐานร่วมกัน โดดเด่นด้านความรวดเร็วในการทำงาน สามารถทำงานได้ในทุก Infrastructure ไม่ยึดติดกับ Cloud แบบใดแบบหนึ่ง และมีประสิทธิภาพการ Scalable สูง คือ สามารถทำการ Scale up และ Scale down ได้อย่างรวดเร็ว

Infrastructure as a Service (IaaS) คืออะไร?

IaaS คือ บริการที่ให้เราเข้าถึงระบบ IT Infrastructure รวมไปถึงพวก Resources ต่างๆ เช่น Storage, Network, และ Compute ที่เราต้องการใช้เพื่อรัน Workload ได้แบบ On-demand สามารถเข้าถึงและเลือกใช้ได้ตามใจชอบ โดยจ่ายค่าบริการราคาไม่แพง อิงตามปริมาณการใช้งานจริงเท่านั้น

Platform as a Service (PaaS) คืออะไร?

PaaS คือ Cloud-Based Environment ที่เราสามารถเช่าใช้งานเพื่อพัฒนา ทดสอบ รัน จัดการหรือปรับแต่ง Application เป็นการบริการสภาพแวดล้อมสำหรับ Development โดยที่เราไม่ต้องวุ่นวายเสียเวลาและเสียเงินไปกับการซื้อ สร้าง ดูแล และจัดการ Infrastructure ซึ่งนอกจากจะประหยัดแล้ว ยังช่วยให้ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สามารถเปิดตัว Application ออกสู่ตลาดได้ทันใจ

นี่เป็นเพียงคำศัพท์พื้นฐานน่ารู้ในเบื้องต้นเท่านั้นสำหรับผู้ที่กำลังสนใจเรื่อง Cloud Computing อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่าบริการ Cloud Computing นำเสนอทางเลือกช่วยประหยัดและช่วยให้ทำงานไวขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวกำไรได้อย่างเต็มที่ แถมด้วยค่าเช่าบริการที่ไม่แพง ชวนให้ผู้ประกอบการทั้งหลายต้องนำ Cloud Computing มาปรับใช้กันบ้างเสียแล้ว

Cloud Computing อีกหนึ่งรูปแบบบริการคลาวน์ที่คุณต้องรู้

ในทุกวันนี้องค์กรส่วนใหญ่มักใช้วิธีการเช่าคอมพิวเตอร์ในการใช้งานมากขึ้น สาเหตุก็เพราะเพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้อ Hardware และ Software เอง และข้อดีอีกอย่างก็คือ บริการคลาวน์แบบ Cloud Computing จะช่วยลดต้นทุนและความยุ่งยากในด้านโปรแกรมเมอร์ไปได้มากทีเดียว

และผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆในอินเทอร์เน็ตอย่างง่ายดาย เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือ จึงเป็นที่มาว่าทำไม ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือรวมไปถึงสถาบันการศึกษาในไทยจึงหันมาใช้บริการ Cloud Computing มากขึ้น และจุดเด่นของการใช้บริการคลาวน์ Cloud Computing อยู่ที่ความรวดเร็ว

หากองค์กรหรือธุรกิจใดต้องการที่ขยาย Server ก็สามารถทำได้ทันท่วงที จึงเหมาะมากกับการเติบโตของธุจกิจออนไลน์ปัจจุบัน และนั่นก็รวมไปถึงค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon Web service เมื่อปีที่แล้วได้หันตัวมาเปิดตัวบริการคลาวน์ข้อมูลตลาดสำหรับนักวิจับและแพทย์ขึ้น และสิ่งนี้จะช่วยให้นักวิจัยต่างๆสามารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลประชากร และการแสดงออกของยีนได้อย่างแม่นยำในเชิงและมันเป็นประโยชน์อย่างมากในเรื่องเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดในตอนแรกอาจจะเปิดให้ใช้บริการคลาวน์ตัวนี้ฟรี

ในอนาคตอันใกล้จะมีแนวโน้มที่ผู้วิจัยหรือแพทย์จะให้ความนสนใจและ  Amazon Web Services จะเติบโตเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่เลยทีเดียว จะเห็นได้ว่า Cloud Computing ช่างเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังมาแรงในอนาคตอย่างแน่นอนซึ่งบริการคลาวน์ตัวนี้จะต้องสตอบสนองกับ SME เมืองไทยและ start up ไม่มากก็น้อยพราะถือว่าเป็นช่องทางที่ช่วยลดเงินได้มากเพราะไม่ต้องเสียเงินจ้างพนักงานดูแลระบบเมื่อเราอัพเกรดระบบใหม่ๆก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการออกแบบใหม่ เพราะบริการคลาวน์จะช่วยจัดการให้

ครบวงจร ครอบคลุมทุกเรื่อง Cloud Computing ด้วย Cloud Training

ปัจจุบันนี้ Cloud Computing ได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะว่าเจ้าระบบนี้มีความพิเศษตรงที่ สามารถสร้าง Data Foundation ที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว ได้ถูกต้องแม่นยำระบบประเมินผลแบบ Real-Time พร้อม Data Management Platform ที่สามารถทำงานร่วมกับ Big data ได้ ถ้าต้องการสร้าง Application Data-Driven ก็สามารถทำได้ทันที จบปัญหาการติดต่อสื่อสารผิดพลาด ล่าช้า

ยกตัวอย่างแม้แต่ฝ่าย  HR (ฝ่ายทรัพยากรบุคคล) ของแต่ละองค์กรที่ดูเหมือนไม่น่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นฝ่ายที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลและเอกสาร Cloud Computing ยังเข้ามามีส่วนช่วยในการประมวลผลข้อมูลการสมัครงาน เอกสารการเดินเรื่องภายใน รวมถึงตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

และในช่วงปี 2016 – 2020 นี้ความยืดหยุ่นด้าน IT Solution จะขยายอาณาเขตจากองค์กรธุรกิจเข้าไปช่วยในสถาบันการศึกษา เพราะโครงสร้างพื้นฐานระบบ Cloud ที่ได้รับการออกแบบอย่างดีและพิถีพิถันไม่เพียงแต่จะทำให้ครูและนักเรียนมีเครื่องมือทางเทคโนโลยีล่าสุดไว้ใช้ แต่ยังจะช่วยสร้างความเท่าเทียมในด้านการศึกษา เนื่องจากสำหรับ Cloud Computing แล้ว ไม่ว่าสถาบันนั้นจะมีขนาดเล็ก หรือมีงบประมาณจำกัดแค่ไหน ก็ยังสามารถเข้าถึงนวัตกรรมอันก้าวหน้านี้ได้

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า Cloud Computing เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น มีความสำคัญในหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บุคลากรจะหันมาเรียนรู้เรื่องราวของ Cloud และวิธีการเข้าถึงประโยชน์

โดย Cloud Training จาก NIPA.Cloud (บริษัท นิภา เทคโนโลยี จำกัด) ได้ตอบโจทย์ดังกล่าวด้วยการที่ NIPA.CLOUD ได้จับมือกับ Mirantis (training.mirantis.com) จัดอบรมความรู้เรื่องระบบ Cloud Training ในไทยและประเทศอาเซียน มีหลักสูตรการสอน Cloud Training, OpenStack Training ที่ครอบคลุมสำหรับนักพัฒนาซอฟแวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยเฉพาะด้าน Cloud OpenStack ผู้ดูแลระบบ และผู้จัดการระบบพร้อม รับประกันเนื้อหาใช้หลักสูตรการสอนทั้งหมดจาก Mirantis ทั้งหมดที่ได้รับการพัฒนาจากวิศวกรมากกว่า 200 ท่าน

 

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ training.nipa.cloud