คลังเก็บป้ายกำกับ: cloud

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing

ในช่วงโควิด-19 หรือ ยุคที่เกิด ‘New Normal’ แบบนี้ หลายๆ องค์กรก็ต้องมีการหาSolutionการทำงานที่คล่องตัว สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และการควบคุมการทำงานที่ง่ายดาย 

‘Cloud Computing’ กลายเป็นคำตอบของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการทำงานแบบเดิมๆ และปรับให้การทำงานคล่องตัว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีทรัพยากรด้าน IT ที่ยืดหยุ่น 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ ‘Cloud Computing’ ก็คือคอมพิวเตอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจว่า เซิร์ฟเวอร์จะตั้งอยู่ที่ไหน เพราะ สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะที่ดีของ ‘Cloud Computing’ ก็คือ 

– สามารถควบคุมต้นทุนได้ (Manage Your Finance) 

– สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา และหลากหลายอุปกรณ์ (Go Mobile) 

– มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ควบคุมข้อมูลต่างๆ (Store It Up) 

– คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไร้ข้อจำกัด รวมถึงยังเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น (Share Information — Collaboration) 

– ระบบการทำงาน Information System ที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นภาระกับผู้ดูแลระบบ (Alleviate Complicated of Information System) 

ใครหลายๆ คน อาจจะรู้จัก ‘Cloud Computing’ กันมาบ้างแล้ว แต่ความหมายของมันกับสิ่งที่มันสามารถทำได้ ก็อาจเป็นคำถามในใจของใครหลายๆ คน โดย ‘Cloud Computing’ เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น 

  1. Disaster Recovery-as-a-Service 

สิ่งแรกที่ Cloud Computing สามารถใช้ประโยชน์กับองค์กรได้ คือ การใช้งาน Cloud เป็น Workload ในการเก็บ Backup ข้อมูลทั้งหมด เมื่อระบบเกิดปัญหาขัดข้อง หรือ เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถคาดคิดได้ อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำ DR-site แบบ On-premise จะมีการลงทุน H/W, และ S/W ไว้ที่ site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน ซึ่งมีความซับซ้อนในการสร้างระบบ DR-Site แบบ On-premise อย่างมาก 

Cloud Services จึงเป็นการทำ DR-site สำรองระบบการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่Application ข้อมูล และการทำงานไปที่ Site สำรอง โดยในปัจจุบัน cloud server thai ก็มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และความรวดเร็ว ทำให้ Cloud Computing สามารถเก็บรักษา Backup ข้อมูลทั้งหมดได้ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่น้อยว่าการลงทุน DR-Site แบบ On-premise อีกด้วย 

  1. Infrastructure-as-a-Service 

ต่อมาประโยชน์ของ Cloud Computing เป็นการใช้งาน Workload ที่มีการใช้งานทรัพยากรขั้นสูง คือ Cloud Services สามารถที่จะรองรับการสร้าง instance cloud หรือ ทรัพยากร Compute, Network, Storage ที่ระบบComputerต้องการได้ โดย Cloud จะช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ เช่น SLA, ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบการดูแลไฟฟ้าและควบคุมอากาศ เป็นต้น 

นอกจาก Cloud Computing จะสามารถรองรับทรัพยากรที่องค์กรต้องการใช้งานได้ ยังมีฟีเจอร์และแอปพลิเคชันรองรับกับการใช้งาน เช่น VPC network ในการป้องกันเครือข่ายของระบบ, Image sharing ฟีเจอร์ลัดช่วยในการควบคุมทรัพยากร Cloud เป็นต้น รวมถึงแอปพลิเคชัน Laravel, Docker, Joomla, Mongodb, Magento, My SQL, LEMP เป็นต้น 

  1. Development and Test Environment 

สำหรับ Cloud Services มีฟีเจอร์ที่พร้อมกับการทดสอบและพัฒนาสภาพแวดล้อมของ Application ในองค์กร รวมถึง Workload ในการทำงานแบบอัตโนมัติก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย งานวิจัยล่าสุดจาก Voke พบว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ของระบบ IT ในองค์กรมีผลอย่างมากต่อการพัฒนา Application โดยข้อจำกัดของระบบ On-Premise มีผลต่อความล่าช้าและการหยุดชะงักในการพัฒนาถึง 44% และมีผลต่อการทดสอบถึง 68% 

การสร้าง Environment ของระบบ IT บน Cloud Computing ที่มีความยืดหยุ่นและมีทรัพยากรที่เพรียบพร้อมมากกว่าจึงเป็นคำตอบในการพัฒนา Application ที่รวดเร็ว ลดความซับซ้อนขั้นตอนการเตรียมการได้ดีกว่านั่นเอง 

  1. Big Data Analytics 

Cloud Services สามารถช่วยบริษัทในการประมวลผลและวิเคราะห์ Big Data ได้รวดเร็วขึ้น โดยการนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการปรับปรุงธุรกิจได้ โดยทรัพยากรพื้นฐานที่มีอยู่บน Cloud มากมาย เช่น instance cloud, Image sharing รวมไปถึงระบบความปลอดภัยอย่าง VPC network ก็ช่วยให้การสร้าง Big Data มีความคล่องตัวขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่าย

  1. Application Development 

นักพัฒนา Application จะรู้ดีสำหรับการออกแบบ Application บนสภาพแวดล้อมที่ต้องการ ซึ่ง Cloud Services มีความยืนหยุ่นในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Public Cloud หรือ Private Cloud ก็สามารถตอบโจทย์การออกแบบ การจัดการข้อมูล เครือข่ายของ Applacation หรือกระทั่งระบบความปลอดภัยต่างๆ Cloud Computing ก็สามารถสร้างการทำงานที่ตอบโจทย์การพัฒนา Application ได้ เช่น cognitive service, AI, backup/recovery, ChatBot เป็นต้น 

 

เปลี่ยนมาใช้ Cloud ไทย กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้! 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

LINE : @NipaCloud 

Website: https://www.nipa.cloud/ 

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/ 

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud 

Email: sales@nipa.cloud 

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

Cloud Backup vs Off-Site Backup

Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?

Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?

Cloud Backup vs Off-Site Backup
ระบบการสำรองข้อมูลมีส่วนสำคัญ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายของข้อมูลในกรณีต่างๆ เช่น ความเสี่ยงเรื่องอัคคีภัย หรือภัยพิบัติ โดยจะเป็นการสำรองข้อมูลภายนอกไซต์ขององค์กร ซึ่งโซลูชันการสำรองข้อมูลนั้นมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Off-site backup และ Cloud backup 
 

 

Off-site backup การสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  

ปกติโดยทั่วไปแล้ว ถ้าพูดถึงการสำรองข้อมูลแบบ off-site backup จะหมายถึงการสำเนาข้อมูลที่เราสำรองไว้ยัง Hardware ต่างๆ เช่น เทป, Hard Disk หรือ Server ซึ่งประเด็นหลักอยู่ที่คุณสมบัติในการกู้คืนข้อมูล ในกรณีที่แหล่งข้อมูลดั้งเดิมที่เก็บไว้นั้นไม่สามารถใช้งานได้ เพราะฉะนั้น การสำรองข้อมูลแบบ off-site backups จึงจัดได้ว่าเป็นการสำรองข้อมูลแบบ storage-oriented ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง  

  

Cloud backup การสำรองข้อมูลที่ปลอดภัย คล่องตัว และเพิ่มศักยภาพที่มากขึ้น  

ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ Cloud Backups ซึ่งเป็นบริการที่อยู่ในรูปแบบ ‘การนำข้อมูลของเราไปไว้ที่ไหนก็ได้’ ซึ่งบริการเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้การซื้อ การเลือกการจัดเก็บ การรักษาความปลอดภัย และการดึงข้อมูลง่ายมากขึ้น และเพราะแบบนี้เอง Cloud Backups จึงถือได้ว่าจัดอยู่ในประเภท service-oriented  

  

เปรียบเทียบ Cloud backup vs. off-site backup แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?  

แล้วการ Backup แบบไหนถึงเหมาะกับเราล่ะ? ถ้าหากคุณเกิดความรู้สึกสงสัยแบบนี้ ให้ลองตัดสินจากทั้ง 4 คำถามนี้ ที่จะช่วยให้คุณสามารถเลือกกลยุทธิ์ที่เหมาะสมได้  

  

อะไรที่คุณต้องการเป็นพิเศษ?  

บางทีองค์กรของคุณอาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น การเข้ารหัสแบบ 448-bit ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ให้บริการต่างๆ จะมีข้อเสนอต่างๆ ยื่นให้ แต่ก็เลือกได้ไม่มากเท่าไหร่ และอาจไม่ตรงตามกับที่คุณต้องการ ดังนั้น การใช้ off-site backup storage จะทำให้คุณสามารถควบคุมเอง เพื่อให้ตรงกับความต้องการได้ทั้งหมด  

  

คุณจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือขนาดไหน?  

ถ้าหากคุณต้องการความช่วยเหลือที่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและกำหนดค่าการสำรองข้อมูล หรือช่วยจัดการการกู้คืน การสำรองด้วยระบบ cloud hosting ก็น่าจะตรงกับความต้องการของคุณมากกว่า เนื่องจากมีผู้เชี่ยชาญด้าน Cloud Services ให้คำปรึกษา ดูแล และแก้ไขการใช้งานได้ตลอด 24×7 นั่นเอง  

  

ราคาไปด้วยกันกับทุนองค์กรหรือไม่?  

สำหรับระบบ cloud hosting จะมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า off-site เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ การใช้งานจริง หรือจะเป็นบริการแบบรายเดือน (มีทั้งรายชั่วโมง, รายวัน, รายเดือน) ตลอดจนการใช้งานที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ที่เรียกว่า ‘Private Cloud’ แต่สำหรับ off-site ผู้ใช้งานจะต้องลงทุนกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เอง รวมถึงการดูแลรักษา และเรียนรู้การใช้งานด้วยตัวเองอีกด้วย  

  

แบบไหนปกป้องข้อมูลได้ดีที่สุด?  

ในข้อนี้สามารถเปรียบได้ประมาณว่า ‘จะซื้อ หรือจะสร้าง’ คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดต่อการป้องกันข้อมูล ได้ด้วยตัวเองหรือไม่ หรือว่าคุณควรจะไปใช้บริการของผู้ให้บริการ cloud hosting ดีกว่า? พอเกิดคำถามเหล่านี้ ก็อยากให้วนกลับไปที่คำถามแรก ถ้าหากว่าความต้องการหรือเงื่อนไขของคุณค่อนข้างเรียบง่าย ไม่มีอะไรมาก ก็ตรงดิ่งไปที่  Cloud Backup ดีกว่า  

  

จากคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ ไม่มีผิด ไม่มีถูก มีแต่ว่าตรงหรือไม่ตรง คุ้มหรือไม่คุ้ม สะดวกหรือไม่สะดวก ฉะนั้น คนที่สามารถเลือกรูปแบบการสำรองข้อมูลได้ดีที่สุด ก็คือตัวคุณและคนในองค์กรของคุณเอง 

ทำไม Cloud ถึงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพราะในปัจจุบันมีคนเริ่มรู้จัก และเข้าใจเรื่องเกี่ยว Cloud Computing กันมากขึ้นแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้ Cloud เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้น ทำให้ Cloud Computing มีแนวโน้มพัฒนา และเติบโตเรื่อยๆ โดยสาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักของการทำให้ Cloud เติบโตอย่างทุกวันนี้และมีแนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ ก็คือ ความเร็ว และระบบของ Internet นั่นเอง

โดยที่ความเร็ว และระบบของ Internet ถูกปรับให้มีความเร็วเพิ่มสูงขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อก่อนเราต้องมี Server เป็นของตัวเอง เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราก็สามารถปรับปรุงข้อมูลจากเครื่อข่ายต่างๆ ได้เอง แต่เดี๋ยวนี้ระบบ Internet ก็ได้พัฒนามาไกลมากแล้วจริงๆ จากเมื่อก่อนใช้สายลากต่อตามบ้าน หรือตามบริษัท องค์กร ปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบ Internet ไร้สายที่เราเล่นผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนี้เพิ่มขึ้นมาอีก นั่นทำให้เราสามารถเข้าถึง และจัดการข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนโลกนี้ได้อย่างสบายๆ เมื่อมองกลับมายังปัจจุบันระบบ Cloud  นั้นมันจะสามารถเข้ามาช่วยให้การทำงาน และการเข้าถึงข้อมูลของเราได้เร็วขึ้นแน่นอน เพราะข้อจำกัดต่างๆ ลดลง และการเชื่อมโยงโครงข่าย Internet เข้าถึงกันหมดแล้วนั่นเอง

หากใครมีความสนใจ อยากรู้เรื่อง Cloud Computing แบบละเอียดมากขึ้นทาง Nipa Cloud ได้มีการจัดอบรม Cloud ในหลักสูตร Cloud Computing Fundamentals อยู่นะคะ โดยการอบรม Cloud ครั้งนี้ เรามุ่งเน้นในการพัฒนามุมมองทางธุรกิจ และมีการให้ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของ Cloud Computing และ OpenStack ด้วยนั่นเอง โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ https://training.nipa.cloud/cc101-2/ เลยนะคะ

รู้จัก OpenStack

คุณรู้จัก OpenStack มากน้อยแค่ไหน แล้วรู้สึกไหมว่า ในยุค 4.0 นี้ เราเห็นคำว่า OpenStack ผ่านตามากมายจากหลายที่ นั่นเพราะเป็นเทคโนโลยี ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ สำหรับใครที่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องของ OpenStack เลยว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก เพื่อเป็นประโยชน์ในธุรกิจของตัวคุณเอง

ปัจจุบัน OpenStack ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างกว้างขวางจากกว่า 250 องค์กรใน 130 ประเทศทั่วโลก ในฐานะ Open Source สำหรับ Private Cloud แต่อะไรทำให้ OpenStack มีความโดดเด่นเกินหน้าเกินตาคู่แข่งรายอื่นอย่าง Amazon EC2 กันล่ะ? บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ OpenStack และเปิดเผยองค์ประกอบเด่นๆ ของมันกัน

OpenStack ในฐานะแพลตฟอร์มแบบ Open source

NASA และ Rackspace เป็นผู้เริ่มต้นพัฒนา OpenStack ก่อนจะเปิดเป็น Open source ให้เหล่าโปรแกรมเมอร์สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ตามต้องการ โดยตรวจสอบ Source code ได้ทาง GitHub ทั้งนี้พวกโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาระบบ OpenStack เองก็ทำงานให้กับองค์กรใหญ่ที่นำ OpenStack ไปใช้ด้วยเหมือนกัน เช่น Rackspace และ PayPal เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโปรเจ็คเกี่ยวกับ OpenStack อีกหลายโครงการ ซึ่งส่วนมากก็เป็นโปรเจ็คเฉพาะด้าน เช่น การติดตั้งแบบ bare-metal ผู้ที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน OpenStack หรือจะทดลองใช้ ทาง OpenStack ก็มี Development Version ให้ลองเล่นกันได้โดยนำไปติดตั้งบน Ubuntu Linux หรือจะใช้ OpenStack Autopilot wizard ในการสั่ง Deploy ก็ได้ ส่วน Source code ก็ไม่จำเป็น เพราะ OpenStack สามารถหาได้จาก Python package โดยใช้ Tools ชื่อ apt-get ในการติดตั้ง

รู้จัก Ecosystem ของ OpenStack

สิ่งที่เหมือนกันของ OpenStack กับ Amazon EC2 คือ ผู้ใช้สามารถ Provision VM จาก dashboard หรือ API ได้ แต่ข้อแตกต่างหลักๆ นอกจากเรื่องที่ OpenStack เป็นบริการฟรี คือ Amazon EC2 เป็นบริการ Public Cloud เท่านั้น ส่วน OpenStack ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นบริการ Private Cloud ของ OpenStack เอง หรือจะสมัครไปใช้ Public Cloud จากตัวแทนผู้ให้บริการของ OpenStack ก็ได้

OpenStack ในความจริงไม่ใช่ Hypervisor แต่ OpenStack เป็นโครงสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับ Hypervisor ที่แตกต่างกันหลายๆ เครื่อง โดย User สามารถเลือกได้ว่าจะ Deploy Hypervisor บนตัวเครื่อง (machine) หรือบน OS ที่ built-in มากับ Hypervisor เช่น Linux KVM เป็นต้น นอกจากนี้ OpenStack ยังทำให้ User สามารถนำ VM ไปติดตั้งบน Bare-Metal Server (เซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว) ได้อีกด้วย

Component หลักของ OpenStack

  • Horizon (Dashboard) : เป็น User Interface (UI) แบบ Web-based
  • Nova (Compute) : ประกอบด้วย Controller และ Compute Nodes ที่ดึง VM image มาจาก OpenStack image service และสร้าง VM บนเซิร์ฟเวอร์ที่เราต้องการ โดยมี APIs ที่แตกต่างกันตามแต่ Platforms เช่น XenAPI, VMwareAPI, libvirt for Linux KVM (QEMU), Amazon EC2, และ Microsoft Hyper-V เป็นต้น
  • Neutron (Networking) : สำหรับสร้าง Virtual Network และ Network Interface อีกทั้งยังทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Networking Products จากตัวแทนผู้ให้บริการอื่นๆ
  • Swift (Object storage) : มีหลักการทำงานเหมือน Amazon S3 โดยจะบันทึกข้อมูลแบบเดี่ยว อย่าง Image เก็บไว้โดยใช้ระบบ REST Web service
  • Cinder (Block storage) : คล้ายกับ Swift โดยจะเก็บ disk file ต่างๆ เช่น Log และเปิดให้เราสามารถเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปได้ ในขณะที่ Swift จะให้เก็บแทนที่ของเดิมเท่านั้น
  • Keystone (identity storage) : เป็นตัวคำสั่งที่เปิดให้ User และ Process สามารถเข้าถึง Tools ต่างๆ ของ OpenStack ได้โดยสร้าง Autentication Token ขึ้นมา
  • Glance (Image service) : เป็นตัวหลักของ OpenStack ในฐานะ Cloud Operating System คือ การสร้าง VM image ขึ้นมา โดย Glance คือแคตตาล็อครวม VM ที่เราอัพโหลดเอาไว้และเปิดให้ใช้กันภายในองค์กร
  • Trove (database server) : เป็นตัวสนับสนุนการทำงานของ Database ที่ต่างกัน

นอกจากนี้ Component พวกนี้ของ OpenStack ยังใช้ MySQL database ที่หลากหลาย สามารถทำงานร่วมกับ Python รวมทั้งใช้ Command line interface ของ Python ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

คำสั่งดาวน์โหลด Keystone จากเซิร์ฟเวอร์ Linux ที่เก็บข้อมูลเอาไว้แบบ Public

apt-get install keystone python-keystoneclient

คำสั่งสร้าง User บน Keystone

keystone user-create –name Sam –description “Sam”

คำสั่งลิสต์ชื่อ VM images ด้วย Nova

nova image-list

คำสั่งเปิด Python Shell ก็ทำได้ง่ายๆ แค่พิมพ์ Python แล้วตามด้วย

from keystoneclient.v2_0 import client

หรือถ้าใครไม่คล่อง Python CLI (Command Line Interface) จะสลับไปใช้ Dashboard แบบคลิกก็ได้เหมือนกัน

นิยามใหม่ OpenStack Cloud

ถ้าพูดถึง Public Cloud เราก็คงนึกถึง Amazon Web Service (AWS) เพราะเป็นอันดับต้นๆ ของตลาด แต่ถ้าพูดถึง OpenStack เราก็จะนึกถึง Private Cloud ที่รองรับการทำงาน Private Cloud ได้ดีที่สุดในเวลานี้

โดยอาจกล่าวได้เลยว่าไม่มี Cloud Technology Platform ใดๆ ที่จะได้รับการสนับสนุนได้มากเท่า OpenStack ซึ่ง OpenStack นั้นเกิดมาจากการร่วมมือกันของ NASA และ Rackspace ในปี 2010 ก่อนที่จะมีการเติบโตขึ้นในฐานะ Open source ซึ่งมีผู้ให้การสนับสนุนมากมาย ทั้ง HP, IBM, Intel, Cisco, Dell, EMC, VMware, Symantec, Huawei, และ Yahoo

ใครใช้ OpenStack บ้าง?

          ผู้ให้การสนับสนุนจำนวนมากเหล่านี้ เป็นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใช้งาน OpenStack เท่านั้น ซึ่งภายในงาน OpenStack Summit ที่ Vancouver ที่ผ่านมา ผู้ค้าระดับโลกอย่าง Walmart ได้ออกมาพูดถึงการใช้งาน OpenStack กับระบบการจัดการ Ecommerce ว่าสามารถสร้างความสำเร็จมหาศาลได้อย่างไร นอกจากนี้ OpenStack ยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทั้ง eBay, Paypal, Comcast, Time Warner Cable และ Bestbuy ส่วนทาง NASA เองก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาวกผู้ที่กำลังใช้ OpenStack เป็นรากฐานพัฒนาเทคโนโลยีพามนุษย์ไปสู่ดาวอังคารนั่นเอง

เมื่อเราพอจะมองเห็นภาพกว้างๆ แล้วว่า OpenStack ถูกใช้โดยใครและใช้ทำอะไรบ้างแล้วนั้น ต่อมาก็จะต้องมาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าแท้จริงแล้ว OpenStack ไม่ใช่ Homogeneous Cloud Product หรือผลิตภัณฑ์ Cloud ที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการรายเดียวแบบเสร็จสรรพ ตั้งแต่ Hypervisor ยัน Management Layer (* อ้างอิงจาก http://www.bmc.com/blogs/what-price-homogeneity/) และ OpenStack ก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ Virtualization Hypervisor แต่อย่างใด

OpenStack นั้นเป็นเพียงแพลตฟอร์มผสานการทำงาน หรือ Integration Platform เท่านั้น โดย OpenStack จะเป็น Framework ที่มาพร้อมกับ API และ Tool สำหรับ Cloud Service พวก Product และ Technology ต่างๆ จะถูก Integrate และ Deploy ภายใน Framework นี้ เพื่อสร้าง OpenStack Cloud ขึ้นมา

ผู้ให้บริการบิดเบือนความหมายของ Cloud

ความหมายที่แท้จริงของ Cloud ได้ถูกบิดเบือนไปโดยเหล่าผู้ให้บริการ เพื่อให้เข้ากับจุดประสงค์การขายสินค้าของตน และสำหรับ Cloud ของ OpenStack นั้น จะขอยึดเอาตามคำจำกัดความจาก Amandeep Singh Juneja ผู้เป็น Senior Director ด้าน Cloud Engineering ที่ Walmart Labs คือ “Cloud นำมาซึ่งความยืนหยุ่นและการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบ Infrastructure”

ทั้งนี้ทั้งนั้นทาง OpenStack เองก็ได้นำเสนอ Framework ที่จะทำให้ ระบบ Infrastructure ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นเช่นเดียวกัน

นิยามใหม่ของ OpenStack Cloud

แรกเริ่มเดิมที OpenStack มีอยู่ 2 โปรเจ็กต์ได้แก่ Nova Compute Project และ Swift Storage ซึ่ง Nova จะทำให้ Cloud Operator สามารถเลือกการ Deploy ได้จาก Hypervisor และ Virtualization Technology หลายๆ แบบ ไม่ว่าจะ ESX ของ VMware, Open Source อย่าง KVM และ Xen Hypervisor หรือกระทั้ง Hyper-V ของ Microsoft ก็สามารถนำมา Deploy ใน Nova ได้เช่นกัน

หลังจากนั้น OpenStack ก็ได้ขยาย Project โดยการเพิ่มโปรเจ็กต์ใหม่ๆ เข้าไปภายใต้สิ่งที่รู้จักกันในชื่อ OpenStack Integrated Release สำหรับ OpenStack Kilo ที่ปล่อยออกมาไม่นานนี้ มีการผสานรวมหลายๆ โปรเจ็กต์เข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ Nova compute, Swift object storage, Cinder block storage, Keystone identity, Horizon dashboard, Glance image, Neutron networking, Trove database, Sahara Big Data, Heat orchestration, Ceilometer monitoring และ Ironic Bare Metal projects

ความท้าทายของ Integrated Release ก็คือ ในการใช้งาน OpenStack Cloud เราไม่ได้ใช้สิ่งที่อยู่ใน Integrated Release ครบทั้งหมด เริ่มด้วย Liberty Release ที่จะทำให้เกิดนิยามใหม่ขึ้นสำหรับ OpenStack แล้วไหนจะ DefCore Project ส่วนสำคัญที่ต้องเข้าไปอยู่ใน Cloud เพื่อให้สามารถเรียกได้ว่าเป็น OpenStack Cloud นอกจากนี้ยังมี Big Tent ซึ่งเต็มไปด้วยสารพัดโปรเจ็กต์ให้ผู้ใช้หรือผู้ให้บริการ Cloud ได้เลือกสรร

ทั้งนี้ Big Tent ได้เปลี่ยนคำนิยามของ OpenStack Cloud ไปเสียหมด ทั้งเรื่องที่ OpenStack Cloud คืออะไร และสามารถทำอะไรได้บ้าง นั่นหมายความว่า Liberty ที่ปล่อยออกมาก็จะสร้างความแตกต่างมหาศาลให้กับ OpenStack เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม DefCore ยังคงเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ ทั้ง Keystone Identity service และ API เพราะ Keystone คือตัวเปิดการทำงานของ Federated Identity หรือ การพิสูจน์ตัวตนแบบรวมศูนย์ ใน OpenStack Cloud ด้วยไอเดียที่จะให้ OpenStack Foundation กลายมาเป็น OpenStack Powered Planet คือ ให้เกิดศูนย์กลางการใช้งาน OpenStack ทั่วโลกนั่นเอง

 

Cloud bursting คืออะไร?

ปัจจุบันนี้แทบทุกองค์กรเริ่มมีการพัฒนาศักยภาพขององค์กรมากยิ่งขึ้น เพื่อหมุนตามโลกที่กำลังหมุนไป โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อความสะดวก ความเร็ว และเพียงพอต่อการใช้บริการ และเทคโนโลยีที่เป็นตัวช่วยที่ดีขององค์กรนั่นก็คือ Cloud Bursting ตัวช่วยให้องค์กร จัดการกับ Public Cloud ได้ตามที่ต้องการ

ซึ่งเราลองมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Public Cloud ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และสามารถนำมาช่วยให้องค์กรดีขึ้นได้อย่างไร Public Cloud เป็นกระบวนการถ่ายเท Workload ไปมาระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เป็นการตอบสนองต่อการใช้งาน Workload  ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้ระบบงานช่วยจัดการตัวระบบให้ไม่หนักจนเกินไป ตัวอย่าง ในเว็บไซต์มี Traffic จำนวนมากเกินไป ทำให้ตัวระบบมีข้อมูลที่หนักเกินไป จำเป็นต้องสร้าง Instance เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา เราสามารถแก้ปัญหาด้วยการนำสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting มาใช้ให้ Workload เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นและไม่หนักจนเกินไป

เมื่อทำความเข้าใจ Cloud Bursting ไปแล้ว อีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ สถาปัตยกรรม Cloud Bursting คือ Private Cloud และ Public Cloud คือสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ซึ่งสร้างความท้ามายไม่น้อย การใช้งานแบบนี้เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่ตามมาด้วย นั่นก็คือผลกระทบจากการที่ Cloud ต้องประสบกับปัญหา Network Latency นอกจากนี้เราต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำ Cloud Bursting มาใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้งานนี้ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและเช็คความพร้อมของระบบให้ดี เพื่อป้องกันตัวเองและใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

ทำความรู้จักกับกระบวนการทำงานของ ระบบ Cloud

Cloud (คลาวด์) หลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง เพราะตอนนี้ ระบบ Cloud กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ แต่แค่เคยได้ยิน และอยากทำความเข้าใจว่าระบบ Cloud คืออะไร ทำงานอย่างไร วันนี้เราจะคุณไปรู้จักกับ Cloud (คลาวด์) กันนะคะ

มันคือเทคโนโลยีตัวหนึ่ง ขอยกตัวอย่างการทำงานของ Cloud (คลาวด์) ที่ใกล้ตัวก็คือ คุณใช้ iPhone แต่เมื่อคุณใช้ iPad ทุกอย่างบน iPhone คุณไปอยู่บน iPad Auto หรือแม้การเปลี่ยนโทรศัพท์เพียง Login iCloud ทุกอย่างก็กลับมาหมด อย่างนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของมนุษย์มากขึ้น

เสมือนเหมือนกับ Server ที่มีไว้เก็บข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ตอบโจทย์กับยุคเทคโนโลยีอย่างมาก ตอนนี้ Cloud (คลาวด์) กลายเป็นส่วนที่สำคัญมากทีเดียวกับบริษัทใหญ่ ผู้ใช้บริการ Cloud ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลอย่างรอบคอบ Cloud (คลาวด์) ในที่นี้เรียกว่า Private Cloud   หรือเรียกง่ายๆว่า Cloud (คลาวด์)

ส่วนตัวใช้ในแต่ละแผนกขององค์กรเข้ามาใช้งานได้ ในต่างประเทศนิยมใช้  Cloud (คลาวด์) เป็น Server มาก เพราะเวลาเราไม่ได้ไปทำงานในออฟฟิศ ก็สามารถซิงค์ข้อมูลกับอุปกรณ์และสามารถทำงานที่บ้านได้

อย่างไรก็ตาม  Cloud (คลาวด์) ก็พยายามเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในวงไอทีธุรกิจมากขึ้น ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างมาก แต่ Cloud (คลาวด์) ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ให้มนุษย์ได้สะดวกสบาย เพราะ Cloud (คลาวด์) สามารถเรียกข้อมูลคืนได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาไปให้ร้านหรือคนที่เป็นไอทีมาแก้ไขให้ เพียงแต่เรา Login ในระบบ Cloud ก็สามารถกู้ข้อมูลมาได้อย่างง่ายดาย

เรียกได้ว่าเราสามารถแก้ปัญหาเองได้อย่างง่ายดาย  เห็นไหมละค่ะว่า Cloud (คลาวด์) คือเรื่องใกล้ตัวและมีอิทธิพลอย่างมากในการใช้ชีวิตในการทำงานของเรา

training.nipa.cloud เปิดคอร์ส เปิดหลักสูตร ฝึกอบรม Cloud OpenStack หลักสูตรและวิทยากรได้รับการรับรองจาก Mirantis หลักสูตรอบรมเป็นภาษาไทย งานสัมมนาด้านเทคโนโลยี Cloud

Cloud training by Nipa Technology

จากบทความ รู้จักคลาวด์ คลังเก็บข้อมูลช่วยคุณเดินหน้าธุรกิจ ก่อนหน้านี้ ทำให้หลายท่านเริ่มเข้าใจแล้วว่า Cloud (คลาวด์) มีหน้าที่ทำอะไร? แต่นั่นแหละคำถามที่ตามมาก็คือ แล้วระบบ คลาวด์ ตัวนี้สามารถศึกษาได้จากที่ไหนบ้าง วันนี้เราจึงมีสิ่งดีดีที่อยากจะนำมาฝากทุกท่าน Cloud training by Nipa Technology เปิดประสบการณ์ใหม่ไปกับเราได้ที่นี่ครับ

Cloud training by Nipa Technology ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน มากกว่า 5 ปี ทำให้เรากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของ Cloud (คลาวด์) และได้เปิด คอร์สการเรียนการสอน Cloud training by Nipa Technology ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่อยากเรียนรู้จาก ผู้เชียวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานจริง มาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับระบบ Cloud (คลาวด์) ที่มีคุณภาพและถูกอัดแน่นไปด้วยความรู้ทางด้าน Cloud (คลาวด์) โดยคอร์สที่บริษัทเปิดนั้นคือ Cloud training by Nipa Technology การันตีด้วยผลตอบรับที่มีผู้คนให้ความสนใจ มากถึง 15,000 คน รวมไปถึงความสนใจจากบริษัทแนวหน้าของประเทศไทย ที่เข้าร่วมในงานสัมมนา Cloud training by Nipa Technology มากถึง 100บริษัท นั่นแสดงให้เห็นว่า ในอีกไม่กี่ 10 ปีข้างหน้า Cloud training by Nipa Technology จะช่วยตอบโจทย์การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ ธุรกิจ StartUp, ธุรกิจSME หรือแม้กระทั่ง Agency จากองค์กรชั้นนำระดับโลก ต้องเข้าใจในการทำงานของระบบ Cloud (คลาวด์) อย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและดึงเอาประสิทธิ์ภาพของระบบ Cloud (คลาวด์) ให้ออกมาใช้งานได้มากที่สุดกับเงินที่ลงทุนไปนั่นเอง

ดังนั้น คอร์สการเรียนการสอน Cloud training by Nipa Technology จึงเป็นจุดประกายเล็กๆและทำให้ท่านเข้าใจในระบบ Cloud (คลาวด์) อย่างแท้จริง เผยสิ่งทีคุณไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมทั้งมาแชร์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับระบบของท่านให้เราได้แล้ววันนี้ Cloud training by Nipa Technology เข้าใจธุรกิจเข้าใจคลาวด์

Cloud Computing เทคโนโลยีสมัยใหม่แห่งอนาคต

Cloud คือเทคโนโลยีที่เริ่มต้นมาจากการทำ Virtualization ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นจนให้ผู้ใช้งานสามารถให้บริการตัวเองได้ บริการคลาวด์ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่ฝากไฟล์ไว้บนอินเทอร์เน็ต แต่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังในการประมวลผล หน่วยความจำ และพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล คลาวด์ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา และยังเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น โดยมีบริการคลาวน์ 3 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้

1.Software as a Service (SaaS) เป็นการให้บริการคลาวด์ด้านซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่น ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเงินจ้างทำระบบคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ไม่จำกัด ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่เราใช้เป็นประจำ เช่น Gmail Google Docs หรือ Google app โดยการใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่อง สามารถใช้งานผ่าน Cloud ได้เลย สามารถทำที่ไหนหรือใช้คอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ หรือสามารถแชร์งานกับเพื่อนๆ ได้

2.Platform as a Service (PaaS) การให้บริการด้าน Platform การบริการจะมีการเตรียมข้อมูลเพื่อพัฒนา Software และ Application เอาไว้ให้เรียบร้อย สามารถไปใช้ได้เลย ช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ เช่น Google App Engine, Web Application, Snapchat เป็นต้น

3.Infrastructure as a Service (IaaS) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ( Infrastructure) และระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Storage) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application เช่น บริการ Cloud storage อย่าง DropBox ซึ่งให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูล

ดังนั้นในปัจจุบันผู้คนจึงนิยมเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์อย่างแพร่หลาย ระบบคลาวด์ถูกออกแบบมาให้รองรับการขยายตัวของระบบได้ง่าย เพื่อรองรับปริมาณและความต้องการของผู้รับบริการคลาวด์ ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาทุกอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมดกังวลเรื่องข้อมูลจะหาย นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นต้องซื้อแฟลชไดร์ฟหรือ Memory Card ที่สำคัญปลอดภัยจากไวรัสแน่นอน