คลังเก็บป้ายกำกับ: Private Cloud

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร?

Cloud Computing

ในช่วงโควิด-19 หรือ ยุคที่เกิด ‘New Normal’ แบบนี้ หลายๆ องค์กรก็ต้องมีการหาSolutionการทำงานที่คล่องตัว สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้และการควบคุมการทำงานที่ง่ายดาย 

‘Cloud Computing’ กลายเป็นคำตอบของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาการทำงานแบบเดิมๆ และปรับให้การทำงานคล่องตัว สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีทรัพยากรด้าน IT ที่ยืดหยุ่น 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ ‘Cloud Computing’ ก็คือคอมพิวเตอร์ หรือ เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องสนใจว่า เซิร์ฟเวอร์จะตั้งอยู่ที่ไหน เพราะ สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะที่ดีของ ‘Cloud Computing’ ก็คือ 

– สามารถควบคุมต้นทุนได้ (Manage Your Finance) 

– สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา และหลากหลายอุปกรณ์ (Go Mobile) 

– มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ควบคุมข้อมูลต่างๆ (Store It Up) 

– คนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไร้ข้อจำกัด รวมถึงยังเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น (Share Information — Collaboration) 

– ระบบการทำงาน Information System ที่ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นภาระกับผู้ดูแลระบบ (Alleviate Complicated of Information System) 

ใครหลายๆ คน อาจจะรู้จัก ‘Cloud Computing’ กันมาบ้างแล้ว แต่ความหมายของมันกับสิ่งที่มันสามารถทำได้ ก็อาจเป็นคำถามในใจของใครหลายๆ คน โดย ‘Cloud Computing’ เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น 

  1. Disaster Recovery-as-a-Service 

สิ่งแรกที่ Cloud Computing สามารถใช้ประโยชน์กับองค์กรได้ คือ การใช้งาน Cloud เป็น Workload ในการเก็บ Backup ข้อมูลทั้งหมด เมื่อระบบเกิดปัญหาขัดข้อง หรือ เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถคาดคิดได้ อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำ DR-site แบบ On-premise จะมีการลงทุน H/W, และ S/W ไว้ที่ site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน ซึ่งมีความซับซ้อนในการสร้างระบบ DR-Site แบบ On-premise อย่างมาก 

Cloud Services จึงเป็นการทำ DR-site สำรองระบบการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่Application ข้อมูล และการทำงานไปที่ Site สำรอง โดยในปัจจุบัน cloud server thai ก็มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และความรวดเร็ว ทำให้ Cloud Computing สามารถเก็บรักษา Backup ข้อมูลทั้งหมดได้ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่น้อยว่าการลงทุน DR-Site แบบ On-premise อีกด้วย 

  1. Infrastructure-as-a-Service 

ต่อมาประโยชน์ของ Cloud Computing เป็นการใช้งาน Workload ที่มีการใช้งานทรัพยากรขั้นสูง คือ Cloud Services สามารถที่จะรองรับการสร้าง instance cloud หรือ ทรัพยากร Compute, Network, Storage ที่ระบบComputerต้องการได้ โดย Cloud จะช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ เช่น SLA, ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบการดูแลไฟฟ้าและควบคุมอากาศ เป็นต้น 

นอกจาก Cloud Computing จะสามารถรองรับทรัพยากรที่องค์กรต้องการใช้งานได้ ยังมีฟีเจอร์และแอปพลิเคชันรองรับกับการใช้งาน เช่น VPC network ในการป้องกันเครือข่ายของระบบ, Image sharing ฟีเจอร์ลัดช่วยในการควบคุมทรัพยากร Cloud เป็นต้น รวมถึงแอปพลิเคชัน Laravel, Docker, Joomla, Mongodb, Magento, My SQL, LEMP เป็นต้น 

  1. Development and Test Environment 

สำหรับ Cloud Services มีฟีเจอร์ที่พร้อมกับการทดสอบและพัฒนาสภาพแวดล้อมของ Application ในองค์กร รวมถึง Workload ในการทำงานแบบอัตโนมัติก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย งานวิจัยล่าสุดจาก Voke พบว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ของระบบ IT ในองค์กรมีผลอย่างมากต่อการพัฒนา Application โดยข้อจำกัดของระบบ On-Premise มีผลต่อความล่าช้าและการหยุดชะงักในการพัฒนาถึง 44% และมีผลต่อการทดสอบถึง 68% 

การสร้าง Environment ของระบบ IT บน Cloud Computing ที่มีความยืดหยุ่นและมีทรัพยากรที่เพรียบพร้อมมากกว่าจึงเป็นคำตอบในการพัฒนา Application ที่รวดเร็ว ลดความซับซ้อนขั้นตอนการเตรียมการได้ดีกว่านั่นเอง 

  1. Big Data Analytics 

Cloud Services สามารถช่วยบริษัทในการประมวลผลและวิเคราะห์ Big Data ได้รวดเร็วขึ้น โดยการนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ในการปรับปรุงธุรกิจได้ โดยทรัพยากรพื้นฐานที่มีอยู่บน Cloud มากมาย เช่น instance cloud, Image sharing รวมไปถึงระบบความปลอดภัยอย่าง VPC network ก็ช่วยให้การสร้าง Big Data มีความคล่องตัวขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่าย

  1. Application Development 

นักพัฒนา Application จะรู้ดีสำหรับการออกแบบ Application บนสภาพแวดล้อมที่ต้องการ ซึ่ง Cloud Services มีความยืนหยุ่นในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Public Cloud หรือ Private Cloud ก็สามารถตอบโจทย์การออกแบบ การจัดการข้อมูล เครือข่ายของ Applacation หรือกระทั่งระบบความปลอดภัยต่างๆ Cloud Computing ก็สามารถสร้างการทำงานที่ตอบโจทย์การพัฒนา Application ได้ เช่น cognitive service, AI, backup/recovery, ChatBot เป็นต้น 

 

เปลี่ยนมาใช้ Cloud ไทย กับ Nipa.Cloud ได้เลยวันนี้! 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

LINE : @NipaCloud 

Website: https://www.nipa.cloud/ 

Facebook: https://www.facebook.com/nipacloud/ 

Inbox: https://www.messenger.com/t/nipacloud 

Email: sales@nipa.cloud 

Call: 02-107-8251 ต่อ 444

Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

Cloud Computing

Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)

 

เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และประหยัดต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง

 

ประเภทของ Cloud Computing

 

  1. Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ Software ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง

 

  1. Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ

 

  1. Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ซึ่งดึงข้อดีของทั้งสองระบบออกมาใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบนระบบ Cloud Computing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้งาน Private Cloud ในการรัน Software และเก็บข้อมูลภายในองค์กร แต่ใช้ Public Cloud ในการรัน Website รวมถึงรองรับการทำงานช่วงที่มี Workload สูง

 

รูปแบบการใช้งาน Cloud Computing

 

  1. SaaS (Software-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Software โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างและใช้ Software ตัวนั้นได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

 

  1. IaaS (Infrastructure-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรของคลาวด์ในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายแบบเสมือน (Virtualization) ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อหรือติดตั้ง Hardware ปริมาณมากเป็นของตัวเอง

 

  1. PaaS (Platform-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Platform โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Hardware และ Software ได้อย่างอิสระ ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ทันที

 

  1. DRaaS (Disaster Recovery-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง หรือ เหตุขัดข้องที่ทำให้ Data Center ไม่สามารถทำงานได้ ระบบก็จะมีการโอนย้ายการทำงานไปยังระบบการทำงานสำรองแบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

 

เหตุผลที่องค์กรควรติดตั้ง DR หรือ Site สำรอง เนื่องจากมีการระบุไว้ตามกฎหมายว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องมี Site สำรอง รวมถึงมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อข้อมูลขององค์กรและผู้ใช้งาน แต่การลงทุนทำ Site สำรองหรือ DRaaS นั้น มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การใช้งานคลาวด์จึงสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่มีราคาถูกกว่าได้ รวมถึงสามารถใช้งานบริการอื่นๆ จากคลาวด์ได้ เช่น Data Base-as-a-Service (DBaaS), Mobile Back-End-as-a-Service (MBaaS), Functions-as-a-Service (FaaS)

 

ความปลอดภัยของการใช้งาน Cloud Computing

 

อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าข้อดีของการใช้งาน Cloud Computing คือสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้คนมักตั้งคำถามเป็นเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล

 

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Computing นั้นมีความรวดเร็ว สะดวก ซึ่งก็มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย แม้กระทั่งในตัวของ Public Cloud ที่เป็นคลาวด์สาธารณะ แต่ก็มีระบบรักษาความปลอดภัย อย่างเช่น Keypair, VPC หรือระบบการตั้งค่า Network นอกจากนี้หากผู้ใช้งานเป็นระดับองค์กรก็สามารถใช้งาน Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากองค์กรสามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง หากต้องการใช้งานที่คล่องตัวที่สุดก็คือ Hybrid Cloud ที่รวมเอาข้อดีของการใช้งานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud รวมกัน

 

ใช้งาน Cloud Computing คุ้มกว่าอย่างไร

 

1.Cost Savings

ควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-use ใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น เมื่อเทียบกับการทำงานแบบ On-prem ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้ง Hardware และดูแลระบบ รวมถึงการจ้างเจ้าหน้าที่ในการดูแลอีกด้วย

 

2.Security

มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมีการยกระดับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีเจ้าหน้าที่บริการตลอด 24 ชั่วโมง, มี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น

 

3.Flexibility

สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น 

 

4.Mobility

เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ตลอดเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

 

5.Reduce Complexity

ลดความซับซ้อนของระบบ IT การดูแลระบบ Infrastructure ขององค์กร เช่น ระบบไฟฟ้า, การเชื่อมต่ออุปกรณ์, การบำรุงรักษา เป็นต้น แต่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรทั้ง Hardware และ Software บนคลาวด์ได้ทันที

 

6.Automatic Software Updates

การทำงานบนคลาวด์จะมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ Software อยู่เสมอ

 

7.Sustainability

ระบบเครือข่ายและข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบนคลาวด์ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem 

 

สำหรับบริการ Cloud Computing รูปแบบต่างๆ Nipa.Cloud เราสามารถให้บริการได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้ง่ายและได้รับประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยซอฟต์แวร์ NCP ที่มีระบบ Billing แบบ Pay-As-You-Go พร้อม Data Center ของเราเองที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013, ISO/IEC 29110 และรางวัลระดับสากล PM Export Award 2019, 2019 BEST INTELLECTUAL PROPERTY AWARD รวมถึงการได้รับสิทธิบัตรยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 8 ปี จาก BOI

รู้จัก OpenStack

คุณรู้จัก OpenStack มากน้อยแค่ไหน แล้วรู้สึกไหมว่า ในยุค 4.0 นี้ เราเห็นคำว่า OpenStack ผ่านตามากมายจากหลายที่ นั่นเพราะเป็นเทคโนโลยี ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ สำหรับใครที่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องของ OpenStack เลยว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก เพื่อเป็นประโยชน์ในธุรกิจของตัวคุณเอง

ปัจจุบัน OpenStack ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างกว้างขวางจากกว่า 250 องค์กรใน 130 ประเทศทั่วโลก ในฐานะ Open Source สำหรับ Private Cloud แต่อะไรทำให้ OpenStack มีความโดดเด่นเกินหน้าเกินตาคู่แข่งรายอื่นอย่าง Amazon EC2 กันล่ะ? บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ OpenStack และเปิดเผยองค์ประกอบเด่นๆ ของมันกัน

OpenStack ในฐานะแพลตฟอร์มแบบ Open source

NASA และ Rackspace เป็นผู้เริ่มต้นพัฒนา OpenStack ก่อนจะเปิดเป็น Open source ให้เหล่าโปรแกรมเมอร์สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ตามต้องการ โดยตรวจสอบ Source code ได้ทาง GitHub ทั้งนี้พวกโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาระบบ OpenStack เองก็ทำงานให้กับองค์กรใหญ่ที่นำ OpenStack ไปใช้ด้วยเหมือนกัน เช่น Rackspace และ PayPal เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโปรเจ็คเกี่ยวกับ OpenStack อีกหลายโครงการ ซึ่งส่วนมากก็เป็นโปรเจ็คเฉพาะด้าน เช่น การติดตั้งแบบ bare-metal ผู้ที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน OpenStack หรือจะทดลองใช้ ทาง OpenStack ก็มี Development Version ให้ลองเล่นกันได้โดยนำไปติดตั้งบน Ubuntu Linux หรือจะใช้ OpenStack Autopilot wizard ในการสั่ง Deploy ก็ได้ ส่วน Source code ก็ไม่จำเป็น เพราะ OpenStack สามารถหาได้จาก Python package โดยใช้ Tools ชื่อ apt-get ในการติดตั้ง

รู้จัก Ecosystem ของ OpenStack

สิ่งที่เหมือนกันของ OpenStack กับ Amazon EC2 คือ ผู้ใช้สามารถ Provision VM จาก dashboard หรือ API ได้ แต่ข้อแตกต่างหลักๆ นอกจากเรื่องที่ OpenStack เป็นบริการฟรี คือ Amazon EC2 เป็นบริการ Public Cloud เท่านั้น ส่วน OpenStack ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นบริการ Private Cloud ของ OpenStack เอง หรือจะสมัครไปใช้ Public Cloud จากตัวแทนผู้ให้บริการของ OpenStack ก็ได้

OpenStack ในความจริงไม่ใช่ Hypervisor แต่ OpenStack เป็นโครงสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับ Hypervisor ที่แตกต่างกันหลายๆ เครื่อง โดย User สามารถเลือกได้ว่าจะ Deploy Hypervisor บนตัวเครื่อง (machine) หรือบน OS ที่ built-in มากับ Hypervisor เช่น Linux KVM เป็นต้น นอกจากนี้ OpenStack ยังทำให้ User สามารถนำ VM ไปติดตั้งบน Bare-Metal Server (เซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว) ได้อีกด้วย

Component หลักของ OpenStack

  • Horizon (Dashboard) : เป็น User Interface (UI) แบบ Web-based
  • Nova (Compute) : ประกอบด้วย Controller และ Compute Nodes ที่ดึง VM image มาจาก OpenStack image service และสร้าง VM บนเซิร์ฟเวอร์ที่เราต้องการ โดยมี APIs ที่แตกต่างกันตามแต่ Platforms เช่น XenAPI, VMwareAPI, libvirt for Linux KVM (QEMU), Amazon EC2, และ Microsoft Hyper-V เป็นต้น
  • Neutron (Networking) : สำหรับสร้าง Virtual Network และ Network Interface อีกทั้งยังทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Networking Products จากตัวแทนผู้ให้บริการอื่นๆ
  • Swift (Object storage) : มีหลักการทำงานเหมือน Amazon S3 โดยจะบันทึกข้อมูลแบบเดี่ยว อย่าง Image เก็บไว้โดยใช้ระบบ REST Web service
  • Cinder (Block storage) : คล้ายกับ Swift โดยจะเก็บ disk file ต่างๆ เช่น Log และเปิดให้เราสามารถเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปได้ ในขณะที่ Swift จะให้เก็บแทนที่ของเดิมเท่านั้น
  • Keystone (identity storage) : เป็นตัวคำสั่งที่เปิดให้ User และ Process สามารถเข้าถึง Tools ต่างๆ ของ OpenStack ได้โดยสร้าง Autentication Token ขึ้นมา
  • Glance (Image service) : เป็นตัวหลักของ OpenStack ในฐานะ Cloud Operating System คือ การสร้าง VM image ขึ้นมา โดย Glance คือแคตตาล็อครวม VM ที่เราอัพโหลดเอาไว้และเปิดให้ใช้กันภายในองค์กร
  • Trove (database server) : เป็นตัวสนับสนุนการทำงานของ Database ที่ต่างกัน

นอกจากนี้ Component พวกนี้ของ OpenStack ยังใช้ MySQL database ที่หลากหลาย สามารถทำงานร่วมกับ Python รวมทั้งใช้ Command line interface ของ Python ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

คำสั่งดาวน์โหลด Keystone จากเซิร์ฟเวอร์ Linux ที่เก็บข้อมูลเอาไว้แบบ Public

apt-get install keystone python-keystoneclient

คำสั่งสร้าง User บน Keystone

keystone user-create –name Sam –description “Sam”

คำสั่งลิสต์ชื่อ VM images ด้วย Nova

nova image-list

คำสั่งเปิด Python Shell ก็ทำได้ง่ายๆ แค่พิมพ์ Python แล้วตามด้วย

from keystoneclient.v2_0 import client

หรือถ้าใครไม่คล่อง Python CLI (Command Line Interface) จะสลับไปใช้ Dashboard แบบคลิกก็ได้เหมือนกัน

นิยามใหม่ OpenStack Cloud

ถ้าพูดถึง Public Cloud เราก็คงนึกถึง Amazon Web Service (AWS) เพราะเป็นอันดับต้นๆ ของตลาด แต่ถ้าพูดถึง OpenStack เราก็จะนึกถึง Private Cloud ที่รองรับการทำงาน Private Cloud ได้ดีที่สุดในเวลานี้

โดยอาจกล่าวได้เลยว่าไม่มี Cloud Technology Platform ใดๆ ที่จะได้รับการสนับสนุนได้มากเท่า OpenStack ซึ่ง OpenStack นั้นเกิดมาจากการร่วมมือกันของ NASA และ Rackspace ในปี 2010 ก่อนที่จะมีการเติบโตขึ้นในฐานะ Open source ซึ่งมีผู้ให้การสนับสนุนมากมาย ทั้ง HP, IBM, Intel, Cisco, Dell, EMC, VMware, Symantec, Huawei, และ Yahoo

ใครใช้ OpenStack บ้าง?

          ผู้ให้การสนับสนุนจำนวนมากเหล่านี้ เป็นเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใช้งาน OpenStack เท่านั้น ซึ่งภายในงาน OpenStack Summit ที่ Vancouver ที่ผ่านมา ผู้ค้าระดับโลกอย่าง Walmart ได้ออกมาพูดถึงการใช้งาน OpenStack กับระบบการจัดการ Ecommerce ว่าสามารถสร้างความสำเร็จมหาศาลได้อย่างไร นอกจากนี้ OpenStack ยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทั้ง eBay, Paypal, Comcast, Time Warner Cable และ Bestbuy ส่วนทาง NASA เองก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาวกผู้ที่กำลังใช้ OpenStack เป็นรากฐานพัฒนาเทคโนโลยีพามนุษย์ไปสู่ดาวอังคารนั่นเอง

เมื่อเราพอจะมองเห็นภาพกว้างๆ แล้วว่า OpenStack ถูกใช้โดยใครและใช้ทำอะไรบ้างแล้วนั้น ต่อมาก็จะต้องมาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าแท้จริงแล้ว OpenStack ไม่ใช่ Homogeneous Cloud Product หรือผลิตภัณฑ์ Cloud ที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการรายเดียวแบบเสร็จสรรพ ตั้งแต่ Hypervisor ยัน Management Layer (* อ้างอิงจาก http://www.bmc.com/blogs/what-price-homogeneity/) และ OpenStack ก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ Virtualization Hypervisor แต่อย่างใด

OpenStack นั้นเป็นเพียงแพลตฟอร์มผสานการทำงาน หรือ Integration Platform เท่านั้น โดย OpenStack จะเป็น Framework ที่มาพร้อมกับ API และ Tool สำหรับ Cloud Service พวก Product และ Technology ต่างๆ จะถูก Integrate และ Deploy ภายใน Framework นี้ เพื่อสร้าง OpenStack Cloud ขึ้นมา

ผู้ให้บริการบิดเบือนความหมายของ Cloud

ความหมายที่แท้จริงของ Cloud ได้ถูกบิดเบือนไปโดยเหล่าผู้ให้บริการ เพื่อให้เข้ากับจุดประสงค์การขายสินค้าของตน และสำหรับ Cloud ของ OpenStack นั้น จะขอยึดเอาตามคำจำกัดความจาก Amandeep Singh Juneja ผู้เป็น Senior Director ด้าน Cloud Engineering ที่ Walmart Labs คือ “Cloud นำมาซึ่งความยืนหยุ่นและการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบ Infrastructure”

ทั้งนี้ทั้งนั้นทาง OpenStack เองก็ได้นำเสนอ Framework ที่จะทำให้ ระบบ Infrastructure ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นเช่นเดียวกัน

นิยามใหม่ของ OpenStack Cloud

แรกเริ่มเดิมที OpenStack มีอยู่ 2 โปรเจ็กต์ได้แก่ Nova Compute Project และ Swift Storage ซึ่ง Nova จะทำให้ Cloud Operator สามารถเลือกการ Deploy ได้จาก Hypervisor และ Virtualization Technology หลายๆ แบบ ไม่ว่าจะ ESX ของ VMware, Open Source อย่าง KVM และ Xen Hypervisor หรือกระทั้ง Hyper-V ของ Microsoft ก็สามารถนำมา Deploy ใน Nova ได้เช่นกัน

หลังจากนั้น OpenStack ก็ได้ขยาย Project โดยการเพิ่มโปรเจ็กต์ใหม่ๆ เข้าไปภายใต้สิ่งที่รู้จักกันในชื่อ OpenStack Integrated Release สำหรับ OpenStack Kilo ที่ปล่อยออกมาไม่นานนี้ มีการผสานรวมหลายๆ โปรเจ็กต์เข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ Nova compute, Swift object storage, Cinder block storage, Keystone identity, Horizon dashboard, Glance image, Neutron networking, Trove database, Sahara Big Data, Heat orchestration, Ceilometer monitoring และ Ironic Bare Metal projects

ความท้าทายของ Integrated Release ก็คือ ในการใช้งาน OpenStack Cloud เราไม่ได้ใช้สิ่งที่อยู่ใน Integrated Release ครบทั้งหมด เริ่มด้วย Liberty Release ที่จะทำให้เกิดนิยามใหม่ขึ้นสำหรับ OpenStack แล้วไหนจะ DefCore Project ส่วนสำคัญที่ต้องเข้าไปอยู่ใน Cloud เพื่อให้สามารถเรียกได้ว่าเป็น OpenStack Cloud นอกจากนี้ยังมี Big Tent ซึ่งเต็มไปด้วยสารพัดโปรเจ็กต์ให้ผู้ใช้หรือผู้ให้บริการ Cloud ได้เลือกสรร

ทั้งนี้ Big Tent ได้เปลี่ยนคำนิยามของ OpenStack Cloud ไปเสียหมด ทั้งเรื่องที่ OpenStack Cloud คืออะไร และสามารถทำอะไรได้บ้าง นั่นหมายความว่า Liberty ที่ปล่อยออกมาก็จะสร้างความแตกต่างมหาศาลให้กับ OpenStack เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม DefCore ยังคงเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ ทั้ง Keystone Identity service และ API เพราะ Keystone คือตัวเปิดการทำงานของ Federated Identity หรือ การพิสูจน์ตัวตนแบบรวมศูนย์ ใน OpenStack Cloud ด้วยไอเดียที่จะให้ OpenStack Foundation กลายมาเป็น OpenStack Powered Planet คือ ให้เกิดศูนย์กลางการใช้งาน OpenStack ทั่วโลกนั่นเอง

 

Cloud Computing

Cloud Computing เป็นบริการ หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Private, Public, และ Hybrid ถ้าอยากรู้ว่าแบบไหนที่น่าใช้ อันดับแรกต้องดูที่ระดับของความปลอดภัย และฟังก์ชั่นที่ตรงตามความต้องการ ประกอบด้วยลักษณะของ Data ที่จะนำไปใช้ร่วมกับ Cloud นั่นเอง

Public Clouds

Public Cloud คือ รูปแบบการให้บริการ Service และ Infrastructure ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่มีการติดตั้งใด ๆ ในพื้นที่ของผู้ใช้งาน โดยระบบนี้เป็น Cloud ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการแชร์ทรัพยากร แต่ก็มีข้อด้อยในเรื่องของระบบความปลอดภัยหากเทียบกับ Private Cloud

Public Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

  1. Workload มาตรฐานสำหรับ Application ถูกใช้โดยคนจำนวนมาก เช่น E-mail
  2. ต้องการทดสอบและพัฒนา Application Code
  3. มี SaaS (Software as a Service) จากผู้ให้บริการที่เตรียมระบบรักษาความปลอดภัยและแผนการรับมือมาเป็นอย่างดี
  4. ต้องการความสามารถเพื่อรองรับ Workload ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง Peak Time
  5. มีโครงการหรืองานที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น
  6. ต้องการทำ ad-hoc software development project โดยใช้ PaaS (Platform as a Service) ผ่านทางระบบ Cloud

ข้อควรจำ: ผู้ดำรงตำแหน่งสูงในฝ่าย IT หลายคนกังวลเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ Public Cloud จึงต้องใช้เวลาพิจารณาศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าระบบถูกออกแบบมาดี เพื่อป้องกันหรือรับมือได้เมื่อเกิดปัญหา นอกจากนี้การประหยัดงบประมาณในระยะสั้นอาจจะส่งผลเสียในระยะยาวได้

Private Clouds

Private Cloud คือ รูปแบบการให้บริการ Service และ Infrastructure ทั้งหมดจะอยู่ใน Private Network ส่วนตัวของแต่ละบริษัท ระบบนี้มีความโดดเด่นด้านระบบรักษาความปลอดภัยและการควบคุม ซึ่งมีค่าบำรุงรักษา การจัดซื้อ การซ่อมแซม Infrastructure และ Software ทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการต้องจ่าย

Private Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

  1. มีการทำงานเกี่ยวกับ Data และ Application สำคัญ ซึ่งจะต้องมีความปลอดภัยและการควบคุมการเข้าถึงมาเป็นอันดับแรก
  2. มีการทำธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นพิเศษ
  3. บริษัทหรือองค์กรมีขนาดใหญ่มากพอที่จะรัน Cloud Data Center อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง

ข้อควรจำ: เส้นแบ่งระหว่าง Private และ Public Cloud เริ่มจะไม่ค่อยชัดเจน เพราะว่าตอนนี้บางผู้ให้บริการ Public Cloud เริ่มมีบริการเสริมเป็น Private เวอร์ชั่นของ Public Cloud ขึ้นมา และผู้ให้บริการ Private Cloud บางรายก็มีบริการ Public เวอร์ชั่น ที่มีความสามารถไม่ต่างกับ Private Cloud ออกมาเช่นกัน

Hybrid Clouds

Hybrid Cloud เป็นรูปแบบที่ผสมความสามารถของ Public Clouds และ Private Clouds ซึ่งการเลือกใช้ Hybrid Cloud นั้นได้นำความสามารถของ Cloud แต่ละแบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจแยกเป็นแต่ละส่วนได้ แต่ข้อเสียก็คือ ผู้ใช้บริการต้องคอยตรวจเช็คการทำงานของ Security Platform ที่แตกต่างกัน เพื่อให้แต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

Hybrid Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อ:

  1. ต้องการใช้ Application แบบ SaaS แต่ต้องการเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นผู้ให้บริการ SaaS จึงสร้าง Private Cloud ขึ้นมาภายใต้ Firewall ของทางผู้ให้บริการ โดยผู้ใช้งานจะได้รับ VPN (Virtual Private Network) มาเป็นตัวเสริมความปลอดภัย
  2. เป็นธุรกิจที่ให้บริการในระบบตลาดแบบแนวตั้ง (Vertical Market) ซึ่งประกอบด้วยลูกค้าหลากหลายและเป็นอิสระแยกจากกัน จึงใช้ Public Cloud เพื่อติดต่อกับลูกค้า แต่เก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายไว้อย่างปลอดภัยภายใน Private Cloud

ข้อควรจำ: ระบบการจัดการ Cloud Computing จะมีความซับซ้อนสูงขึ้นมาทันที เมื่อต้องจัดการทั้ง Public Cloud, Private Cloud, และ Data Center ภายในไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นในการจัดการ Hybrid Cloud จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มความสามารถสำหรับจัดการและจัดกลุ่มการทำงานร่วมของสภาพแวดล้อมที่ต่างกันพวกนี้

ตัวเลือกของ Cloud Computing ที่มีมาให้เลือกอย่างหลากหลายแบบนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่างทั้งหมดของทั้ง 3 แบบข้างต้นแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการว่าจะใช้ Cloud Computing แบบไหนให้เหมาะกับธุรกิจของตนมากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดและผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กร

OpenStack พร้อมนำ Liberty มาสู่ Cloud

ในตอนนี้ Amazon Web Service (AWS) กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นที่หนึ่งของ Public Cloud หากพูดกันจริงๆแล้ว Private Cloud ยังไงๆ ก็ต้องยกนิ้วให้กับ OpenStack ซึ่งเป็น Open Source ที่รองรับการทำงาน Private Cloud สุดเจ๋ง พูดได้เลยว่าหากไม่มี Cloud Technology Platform ไหนได้รับการสนับสนุนและถูกนำมาใช้งานมากเท่ากับ OpenStack ซึ่ง OpenStack นี้มันเกิดจากการร่วมมือของ NASA และ Rackspace ในปี 2010 ก่อนจะเติบโตขึ้นมาในฐานะ Open source โดยมีผู้ให้การสนับสนุนมากมาย ทั้ง HP, IBM, Intel, Cisco, Dell, EMC, VMware, Symantec, Huawei, และ Yahoo เป็นต้น

 

แต่จริงๆแล้วใครบ้างล่ะที่ใช้ OpenStack?

แต่เหล่าผู้สนับสนุนเป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของผู้ใช้ OpenStack เท่านั้น ดูได้จากภายในงาน OpenStack Summit ที่ผ่านมา มีผู้ค้าระดับโลกอย่าง Walmart ได้ออกมาพูดถึงการใช้งาน OpenStack กับระบบการจัดการ Ecommerce ว่ามันสามารถสร้างความสำเร็จมหาศาลได้ นอกจากนี้ OpenStack ยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของทั้ง eBay, Paypal, Comcast, Time Warner Cable และ Bestbuy ส่วนทาง NASA เองก็เป็นอีกหนึ่งผู้กำลังใช้ OpenStack เป็นรากฐานพัฒนาเทคโ

โลยีพามนุษย์ไปสู่ดาวอังคาร เอาล่ะเรามาทำความเข้าใจกันเสียหน่อยว่าแท้จริง OpenStack ไม่ใช่ Homogeneous Cloud Product หรือผลิตภัณฑ์ Cloud ที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการรายเดียวแบบเสร็จสรรพ ตั้งแต่ Hypervisor ยัน Management Layer  และ OpenStack ก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ Virtualization Hypervisor แต่อย่างใด OpenStack เป็นเพียงแพลตฟอร์มผสานการทำงาน หรือ Integration Platform เท่านั้น โดย OpenStack จะเป็น Framework ที่มาพร้อมกับ API และ Tool สำหรับ Cloud Service พวก Product และ Technology ต่างๆ จะถูก Integrate และ Deploy ภายใน Framework นี้ เพื่อสร้าง OpenStack Cloud ขึ้นมาเท่านั้น

 

Hybrid Cloud ส่วนผสมที่ลงตัวของ Cloud Computing

เท่าที่รู้กัน Hybrid Cloud เปรียบดั่งส่วนประกอบระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud นั่นคือการทำงานแบบผสมกันระหว่างระบบทั้งสองระบบนั่นเอง โดย Public Cloud และ Private Cloud ทำงานอยู่ภายใต้องค์กร ข้อดีอย่างหนึ่งที่เด่นชัดเลยคือ Hybrid Cloud จะรวมเอาความสามารถเด่นๆ ของทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ออกมา เช่น ถ้าใช้ Public Cloud เพื่อเก็บข้อมูลทั่วไปขององค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ Private Cloud เก็บข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการใช้งาน Hybrid Cloud ก็มีอยู่หลากหลาย เช่น

– แบ่งผู้ให้บริการเป็นทั้งแบบ Public Cloud และ Private Cloud โดยให้ใช้งานทั้ง 2 แบบ Integrated Service

ผู้ให้บริการ Cloud มี Hybrid Package ให้บริการเต็มรูปแบบ

– สำหรับองค์กรที่ใช้บริการ Private Cloud อยู่ก่อนแล้ว ก็ให้เข้าใจบริการ Public Cloud ก่อนจะประสานการทำงานเข้ากับ Infrastructure ของตน

สำหรับฟีเจอร์เด่นๆ ของ Hybrid Package ก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

– Scalability

ถึงแม้ Private Cloud จะมีความสามารถด้าน Scalability ได้ดีในระดับหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและการติดตั้ง เช่น ติดตั้งภายในหรือภายนอกองค์กร) ซึ่ง Public Cloud สามารถ Scale ได้ด้วยข้อจำกัดที่น้อยกว่า เหตุมาจากทรัพยากรที่ถูกดึงมานั้น มีแหล่งที่มาที่ใหญ่กว่า ดังนั้นการนำข้อมูลที่ไม่เป็นความลับไปไว้บน Public Cloud ให้มากที่สุด ทำให้องค์กรได้ประโยชน์จาก Scalability ของ Public Cloud ไปอย่างเต็มที่ ทั้งยังลดความต้องการใช้ Private Cloud ลงไปได้อีกด้วย

– คุ้มราคาค่าใช้จ่าย

เนื่องจาก Public Cloud ประหยัดงบประมาณมากกว่า Private Cloud ดังนั้น Hybrid Cloud จึงสามารถช่วยองค์กรประหยัดลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นความลับไว้ได้

– ความปลอดภัย

Private Cloud ในระบบของ Hybrid Cloud มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการส่งและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งนับว่าปลอดภัยในทุกๆ ขั้นตอน

– ความยืดหยุ่น

องกรณ์สามารถเลือกปรับแต่งทั้งระบบข้อมูล และราคาค่าบริการทรัพยากรสาธารณะ ที่มีความปลอดภัยได้ตามที่ต้องการ ทำให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด

เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับโลกของเราในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ถ้าเลือกใฃ้ให้ถูกและเหมาะสมกับตัวผู้ใช้ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเราอย่างไม่มีข้อสงสัย

Cloud bursting คืออะไร?

ปัจจุบันนี้แทบทุกองค์กรเริ่มมีการพัฒนาศักยภาพขององค์กรมากยิ่งขึ้น เพื่อหมุนตามโลกที่กำลังหมุนไป โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อความสะดวก ความเร็ว และเพียงพอต่อการใช้บริการ และเทคโนโลยีที่เป็นตัวช่วยที่ดีขององค์กรนั่นก็คือ Cloud Bursting ตัวช่วยให้องค์กร จัดการกับ Public Cloud ได้ตามที่ต้องการ

ซึ่งเราลองมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Public Cloud ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และสามารถนำมาช่วยให้องค์กรดีขึ้นได้อย่างไร Public Cloud เป็นกระบวนการถ่ายเท Workload ไปมาระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เป็นการตอบสนองต่อการใช้งาน Workload  ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้ระบบงานช่วยจัดการตัวระบบให้ไม่หนักจนเกินไป ตัวอย่าง ในเว็บไซต์มี Traffic จำนวนมากเกินไป ทำให้ตัวระบบมีข้อมูลที่หนักเกินไป จำเป็นต้องสร้าง Instance เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา เราสามารถแก้ปัญหาด้วยการนำสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Bursting มาใช้ให้ Workload เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นและไม่หนักจนเกินไป

เมื่อทำความเข้าใจ Cloud Bursting ไปแล้ว อีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ สถาปัตยกรรม Cloud Bursting คือ Private Cloud และ Public Cloud คือสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ซึ่งสร้างความท้ามายไม่น้อย การใช้งานแบบนี้เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่ตามมาด้วย นั่นก็คือผลกระทบจากการที่ Cloud ต้องประสบกับปัญหา Network Latency นอกจากนี้เราต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำ Cloud Bursting มาใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้งานนี้ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและเช็คความพร้อมของระบบให้ดี เพื่อป้องกันตัวเองและใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

Public Cloud อีกก้าวของการจัดการธุรกิจ

บริการ Cloud มี 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ คลาวด์สาธารณะ หรือ Public Cloud และ คลาวด์สำหรับองค์กร หรือ Private Cloud ซึ่งชื่อก็บอกเราถึงความแตกต่างกัน ของ Public Cloud กับ Private Cloud

Public Cloud ซึ่งอยู่ภายใน Virtualised Environment โดยมีแหล่งทรัพยากรทางกายภาพร่วมกัน ซึ่งระบบ Public Cloud นี้ สามารถเข้าถึงได้ทางอินเตอร์เน็ต

ด้วยความที่ Public Cloud เป็นระบบที่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ จึงทำให้ข้อดีของ Public Cloud นั้นมีอยู่หลายอย่าง ทั้งยังเหมาะกับผู้ใช้งานรายบุคคลที่ไม่ต้องการระบบ Infrastructure และระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูงเทียบเท่ากับ Private Cloud นอกจากนั้นองค์กรต่างๆ ก็สามารถนำ Public Cloud มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานต่างๆ ขององค์กรได้

ซึ่งถ้าจะพูดถึงข้อดีและฟีเจอร์เด่นๆ ของ Public Cloud ก็จะดึงออกมาได้ดังนี้

Scale การทำงานได้ดีมาก โดยเราสามารถดึงทรัพยากรของ Public Cloud มาได้ตามที่ต้องการจากแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ที่รันอยู่ ทั้งยังตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ราคาไม่แพง เนื่องจากระบบ Public Cloud เป็นระบบปฏิบัติการส่วนกลาง และการจัดการทรัพยากรนั้นถูกแชร์ร่วมกันผ่านทาง Cloud อยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องปรับเปลี่ยน Server อะไรมากนัก ซึ่งบางครั้งก็มีให้ใช้กันได้แบบฟรีๆ ด้วยซ้ำไป เพื่อแลกกับการโฆษณาและผลประโยชน์อื่นๆ ของผู้ให้บริการ

คุ้มราคาค่าบริการ การคิดค่าบริการของ Public Cloud คือการจ่ายเท่าที่ใช้ โดยให้ผู้ใช้บริการเข้าใช้งานได้ตามต้องการ ในเวลาที่ต้องการเช่นกัน หลังจากนั้นจึงจ่ายค่าบริการในส่วนของทรัพยากรที่ใช้ไปนั้นๆ ตามสัดส่วน

ไม่เคยล้มเหลว Server และ Network จำนวนมากที่อยู่ใน Public Cloud จะมีการเซ็ตระบบไว้ให้พร้อมก่อน ซึ่งต่อให้ระบบทางกายภาพส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานล้มเหลว บริการ Cloud นี้ก็ยังสามารถทำงานต่อไปบนระบบที่เหลือได้โดยไม่เกิดผลกระทบใดๆ

มีความยืดหยุ่นสูง ปัจจุบัน Public Cloud รองรับการเข้าถึงจากทุกอุปกรณ์ที่สารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งสารถเติมเต็มได้ทุกวัตถุประสงค์การใช้งาน และสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงเป็นอย่างมาก ทำให้มีเวลาในการไปพัฒนาองค์กรในส่วนอื่นๆ ได้อีก

ใช้ได้ทุกสถานที่ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Public Cloud เข้าถึงได้จากทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต ดังนั้นจึงไม่ใช้เรื่องยากเลยที่จะเข้าถึงจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉินที่จะต้องรีบเข้าถึงข้อมูลในยามจำเป็น ทั้งยังสามารถทำงานร่วมกันบน Online Ducument จากหลายๆ ที่ก็ได้เช่นกัน

เห็นข้อดีของ Public Cloud ว่ามีมากมายขนาดนี้ เชื่อได้เลยว่าในอนาคต Public Cloud เองจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจก้าวหน้าขึ้น และเป็นองค์กรที่เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้แน่นอน

 

Cloud Computing เบื้องต้น

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยี Cloud Computing ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้นำแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Cloud Computing นำมาสร้างรายได้ให้กับบริษัทหรือหน่วยงานของตนเอง และวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก Cloud Computing ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น จากศัพท์ที่พบได้ทั่วไปในวงการ Cloud

 

Hybrid Cloud คืออะไร?

Hybrid Cloud คือ ระบบ Infrastructure ใดๆ ก็ตามที่มีการรวมเอาการทำงานของ Private Cloud และ Public Cloud เข้าไว้ด้วยกัน โดย Cloud ทั้ง 2 โมเดลจะร่วมกันจัดการด้าน Provisioning, Resource, และ Service ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เช่าใช้ที่สุด โดย Hybrid Cloud มีความ Flexibility และ Portability สูง สามารถทำงานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ ที่สำคัญคือ Solution นี้เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากมีการทำงานด้วยระบบ Encrypted Technology (เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล)

Digital Transformation คืออะไร?

Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ทันสมัยกว่า ด้วยวิธีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น ซึ่งแนวทางการทำงานขององค์กรจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบของ Cloud, Social Network, Mobile Platform และ Big Data ที่นำมาใช้งาน โดยมีลักษณะเป็น Data-Driven มากกว่าเดิม หรือมีแรงผลักดันมาจากข้อมูลนั่นเอง

Cloud-Native Applications คืออะไร?

Cloud-native applications คือ โครงสร้าง Application สมัยใหม่ ที่มีมาตรฐานร่วมกัน โดดเด่นด้านความรวดเร็วในการทำงาน สามารถทำงานได้ในทุก Infrastructure ไม่ยึดติดกับ Cloud แบบใดแบบหนึ่ง และมีประสิทธิภาพการ Scalable สูง คือ สามารถทำการ Scale up และ Scale down ได้อย่างรวดเร็ว

Infrastructure as a Service (IaaS) คืออะไร?

IaaS คือ บริการที่ให้เราเข้าถึงระบบ IT Infrastructure รวมไปถึงพวก Resources ต่างๆ เช่น Storage, Network, และ Compute ที่เราต้องการใช้เพื่อรัน Workload ได้แบบ On-demand สามารถเข้าถึงและเลือกใช้ได้ตามใจชอบ โดยจ่ายค่าบริการราคาไม่แพง อิงตามปริมาณการใช้งานจริงเท่านั้น

Platform as a Service (PaaS) คืออะไร?

PaaS คือ Cloud-Based Environment ที่เราสามารถเช่าใช้งานเพื่อพัฒนา ทดสอบ รัน จัดการหรือปรับแต่ง Application เป็นการบริการสภาพแวดล้อมสำหรับ Development โดยที่เราไม่ต้องวุ่นวายเสียเวลาและเสียเงินไปกับการซื้อ สร้าง ดูแล และจัดการ Infrastructure ซึ่งนอกจากจะประหยัดแล้ว ยังช่วยให้ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สามารถเปิดตัว Application ออกสู่ตลาดได้ทันใจ

นี่เป็นเพียงคำศัพท์พื้นฐานน่ารู้ในเบื้องต้นเท่านั้นสำหรับผู้ที่กำลังสนใจเรื่อง Cloud Computing อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่าบริการ Cloud Computing นำเสนอทางเลือกช่วยประหยัดและช่วยให้ทำงานไวขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวกำไรได้อย่างเต็มที่ แถมด้วยค่าเช่าบริการที่ไม่แพง ชวนให้ผู้ประกอบการทั้งหลายต้องนำ Cloud Computing มาปรับใช้กันบ้างเสียแล้ว